วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 3 การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์



หน่วยที่ 3 การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
สาระสำคัญ
                การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องยากลำบากแต่อย่างใดเพียงแต่มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และมรความละเอียดรอบคอบในการทำงานก็สามารถประกอบเครื่องได้ เพราะปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเป็นมาตรฐาน และสะดวกต่อการประกอบใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม

เรื่องที่จะศึกษา
·         การเลือกอุปกรณ์ในการประกอบเครื่อง
·         ข้อแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์จากร้านค้า
·         ขั้นตอนการประกอบเครื่อง
·         การอ่านคุณลักษณะของเครื่อง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถเลือกอุปกรณ์ในการประกอบเครื่องได้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้
2. บอกข้อแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์จากร้านค้าได้
3. ฝึกปฏิบัติ การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
4. สามารถอ่านคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากเอกสารประชาสัมพันธ์สินค้าได้
5. ฝึกความรอบคอบในการทำงานและการทำงานเป็นกลุ่ม



1. การเลือกอุปกรณ์ในการประกอบเครื่อง
1. การใช้งานตามสำนักงานทั่วไป
                ลักษณะการใช้งานตามสำนักงานทั่วไปมักใช้งานด้านการพิมพ์เอกสาร รายงาน และจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ส่วนใหญ่โปรแกรมที่นิยมใช้คือ โปรแกรมในชุด Microsoft Office หรือชุดโปรแกรมสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นมาสำหรับใช้งานกิจการนั้นๆ ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรภนะสูง ดังนั้นอุปกรณ์ที่เลือกซื้อควรเป็นดังนี้
-                     CPU : สามารถใช้ CPU Intel Celelron หรือ AMD Duron หรือ AMD Sempron
-                     RAM : ใช้ขนาด 128 MB
-                     Mainboard : ควรใช้แบบอุปกรณ์ On board ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์
-                     จอภาพ : ควรใช้จอภาพแบบ LCD
-                     Harddisk : ส่วนใหญ่ใช้ขนาดตามท้องตลาดทั่วไป เช่น ขนาดความจุ 40 GB
-                     อุปกรณ์อื่นๆ : เช่น ลำโพง เมาส์ แป้นพิมพ์ สามารถเลือกตามความพอใจแต่ควรเน้นในด้านการประหยัดพื้นที่การใช้งาน
 

2. การใช้งานกราฟฟิกและการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
                ลักษณะงานประเภทนี้จะใช้การคำนวณค่าค่อนข้างมาก  รวมถึงต้องใช้การแสดงผลอย่างดี โปรแกรมที่ใช้งานได้แก่ Photo shop, Page Maker ฯลฯ
-                     CPU : ควรใช้ซีพียูที่มีความสามารถในการประมวลผลระดับสูง เช่น Intel Pentium หรือ AMD Athlon หรือ CPU ระดับ 64 บิต
-                     RAM : ควรใช้ขนาด 256 MB ขึ้นไป
-                     Mainboard : ควรใช้แบบแยกส่วนเพื่อให้มีจำนวนช่องสล๊อตสำหรับเสียบการ์ดต่างๆ ได้สะดวก มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงและมีความสามารถในการทำงานต่างๆ
-                     จอภาพ : ควรใช้จอภาพขนาดใหญ่  เพื่อช่วยให้เห็นรายละเอียดได้สะดวก ควรใช่ขนาด 17 นิ้วขึ้นไป
-                     Harddisk : ควรใช้ Harddisk ขนาดใหญ่ ที่มีความจุต่ำกว่า 80GB
-                     การ์ดแสดงผล : ควรใช้การ์ดแสดงผลที่มีชิปประมวลผลด้านภาพที่มีประสิทธิภาพสูงๆ ใช้แบบ APG 4X ขึ้นไป รวมทั้งมีหน่วยความจำในการ์ดแสดงผลไม่น้อยกว่า 64MB
-                     การ์ดเสียง : ไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนัก
-                     อุปกรณ์อื่นๆ : สามารถเลือกตามความพอใจในการใช้งาน


ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

 การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ซึ่งเราสามารถหัดประกอบด้วยตนเองได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นแรกให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
เช่น ไขควงสี่แฉก กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก






 2. เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้น
นำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรงกัน โดยสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของซีพียู




3. เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือน
เดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ (แกน) ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้
หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสียบ้าง
 
4. ติดตั้งฮีทซิงค์และพัดลมลงไปบนคอร์ของซีพียู ติดล็อกให้เรียบร้อย
ในขั้นตอนนี้มีจุดที่ต้องระวังอยู่ 2 จุดคือ การติดตั้งฮีทซิงค์ของพัดลมจะต้องแนบ
สนิทกับคอร์ของซีพียู อย่าพยายามกดแรงไป บางทีคอร์ของซีพียูอาจบิ่นได้ ส่วนขาสปริงที่ยึดพัดลมบางทีมันแข็งเกินไป บางคนใช้ไขควงพยามยามกดขาสปริง
ให้เข้าล็อก ซึ่งอาจทำให้พลาดไปขูดเอาลายปริ้นบนเมนบอร์ดขาดทำให้เมนบอร์ด
อาจเสียหายได้







5. เสียบสายไฟของพัดลมเข้ากับขั้ว CPU FAN โดยดูจากคู่มือเมนบอร์ด





6. นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้น
จึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้นมา (บางเมนบอร์ดตัวล็อกทั้งสองด้าน
อาจไม่จำเป็นต้องดีดขึ้นมาก็ได้ให้ดูว่าเข้าล็อกกันก็พอ)

7. ขันแท่นรองน็อตเข้ากับเคส


8. นำเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึด
เมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว
 

 
 


9. เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส

10. เสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส 



11. เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้
ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อบนเมนบอร์ด
 
12. สอดไดรฟ์ซีดีรอมเข้ากับช่องว่างหน้าเคส แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคส
ให้แน่น


13. เสียบสาย IDE เข้ากับไดรฟ์ซีดีรอมโดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟและสายสัญญาณเสียงเข้าไปด้วย


14. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Secondary IDE บนเมนบอร์ด
โดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย


15. สอดฮาร์ดดิสก์เข้ากับช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น













16. เสียบสาย IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์โดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือด้าน
ที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟเข้าไปด้วย 
17. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Primary IDE บนเมนบอร์ด โดยแถบ
สีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย


18. สอดไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น
19. เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์ ให้สังเกตสายไฟของ
ฟล็อบปี้ดิสก์จะมีหัวขนาดเล็กกว่าสายไฟของซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์)
20. เสียบสายแพขนาด 34 เส้น (เส้นเล็กกว่าสายแพของฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม)
ให้ด้านที่มีการไขว้สายเข้ากับขั้วต่อไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์ โดยแถบสีแดงของสายแพต้องตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย หากใส่ผิดด้านไฟของไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์จะติดตลอด วิธีแก้ไขคือให้หันสายแพกลับด้านเพราะไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์บางยี่ห้ออาจต้องใส่สลับด้านกัน





21. เสียบสายแพอีกด้านเข้ากับขั้วต่อฟล็อบปี้ดิสก์บนเมนบอร์ด โดยให้สาย
สีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือ pin1 ของขั้วต่อด้วย





22. เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอก
สถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ด
ควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์
จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้น
มาใหม่
 




 23. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราลองสำรวจดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆ
ตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความ
เสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบ
การติดตั้งทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบ
แน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมทั้งล็อกติดกันอย่างแน่นหนา






24. เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคสและขันน็อตให้เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จสิ้น




แบบทดสอบ หน่วยที่ 3
1. ข้อใดเเป็นเครื่องมือที่จำเป็นเบื้องต้นสำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์?
 ก. คัตเตอร์
 ข. คีมตัดสายไฟฟ้า
 ค. กรรไกร
  ง. ไขควง


2. อุปกรณ์ในข้อใดที่ไม่ต้องจัดเตรียมในการประกอบเครื่องโดยทั่วไป?
ก. การ์ดแลน 
ข. กล่องบรรจุอุปกรณ์
ค. ซีดีรอม
ง. เมนบอร์ด

3.ขั้นตอนแรกในการประกอบเครื่องคือข้อใด?
ก. ติดตั้งซีพียู
ข. เสียบสายไฟ DC
ค. ยึดติดเมนบอร์ติดกับกล่องอุปกรณ
ง. แกะกล่องอุปกรณ์คอมพิวเเตอร

4. สิ่งจำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มากที่สุดคือข้อใด?
ก. คู่มือการใช้เมนบอร์ด
ข. หนังสือคอมพิวเตอร์
ค. วารสารคอมพิวเตอร์
ง. บทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร

5. ข้อควรระวังในการเสียบจุดต่อจุดของจอภาพ?
ก. เสียบกลับข้าง
ข. เสียบการ์ดจอผิดพลาด
ค. ปรับจอภาพให้ชัดเจน
ง. ขาจุดต่อจะหักงอ

6. ข้อใดไม่ใช่ชื่อการ์ดที่นำมาติดตั้งให้เครื่องคอมพิวเตอร์?
ก. VGA
ข. Super VGA
ค.  Loud Speaker
ง.  EGA




7. ข้อใดคือความหมายการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
ก.  การนำความรุ้กี่่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุต่่างๆ
ข.  การใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือช่าง การออ่านแบบ  
ค.  กลไกลและการควบคุม-อิเล็กทรอนิกสืมาใช้ในการติดตัังและประกอบผลิตภัณฑ์
ง.  ถูกทุกข้อ

8. การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ดด้วยตนเองมีประโยชน์ในข้อใด.
ก.  ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างช่าง
ข.  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ทำ
ค.  เกิดความภาคภุมิใจในตนเอง ฝึกความละเอียดรอบครอบและอดทน
ในการทำงานและนำความรุ้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ
ง.  ถูกทุกข้อ



9. ROM คืออะไร
ก. หน่วยความจำถาวรที่ติดตั้งมาพร้อมกับแผงเมนบอร์ด
ข. หน่วยความจำเสมือน
ค. หน่วยความจำที่ทำงานแทนเมนบอร์ด
ง. หน่วยความจำชั่วคราวที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้

10.  ข้อใดคือโปรแกรมสำเร็จรูป
 ก. โปรแกรมระบบบัญชี
ข. Microsoft Excel
ค. Photoshop
ง. ถูกหมดทุกข้อ

11. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์
ก. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ข. ข้อมูล (Data)
ค. ข้อมูล (Data)
ง. ไม่มีข้อใดถูก

12. ข้อใดคือคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
ก. ความน่าเชื่อถือ
ข. ก้าวทันเทคโนโลยี
ค. ความเร็ว
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.

13. RAM คืออะไร
ก. หน่วยความจำถาวรที่ติดตั้งมาพร้อมกับแผงเมนบอร์ด
ข. หน่วยความจำเสมือน
ค. หน่วยความจำที่ทำงานแทนเมนบอร์ด
 ง. หน่วยความจำชั่วคราวที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้


14. หน่วยประมวลผลกลาง หรือเรียกอีกชื่อว่า
ก.ไมโครคอมพิวเตอร์
ข. ไมโครชิป
ค. ตัวเลือก 3
ง. ไมโครโปรเซสเซอร์

15. สิ่งจำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มากที่สุดคือข้อใด?
ก. คู่มือการใช้เมนบอร์ด
ข. หนังสือคอมพิวเตอร์
ค. วารสารคอมพิวเตอร์ 
ง. บทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น