วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 11 แนวทางการประกอบธุรกิจ

สาระสำคัญ
          ในบทนี้จะกล่าวถึงแนวทางการประกอบธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การขาย แหล่งที่มาของเงินทุน คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ปัญหาในการดำเนินการต่างๆ เป็นต้น

เรื่องที่จะศึกษา
  • ความหมายของธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์
  • แนวคิดทางการตลาด
  • การวางแผนทางการตลาด
  • แผนการขาย
  • แหล่งที่มาของเงินทุน
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม
  • ปัญหาในการดำเนินการต่างๆ
  • การเลือกประกอบอาชีพอิสระ
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ปัญหาและข้อเสนอแนะในการประกอบธุรกิจ


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. บอกความหมายของธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์ได้
  2. เขียนแนวคิดทางการตลาดได้
  3. วางแผนทางการตลาดได้
  4. วางแผนการขายได้
  5. หาแหล่งที่มาของเงินทุนได้
  6. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมได้
  7. เขียนปัญหาในการดำเนินการต่างๆได้
  8. เลือกประกอบอาชีพที่ตนเองชอบได้
  9. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระได้
  10. เขียนปัญหาและข้อเสนอแนะในการประกอบธุรกิจได้






คอมพิวเตอร์ มาจากภาษาลาตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ ซึ่งมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ ดังนี้
เสาวคนธ์ อุ่นยนต์ และก่อกุล กีฬาพัฒน์ (2539 : 3) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถในการแปลงคำสั่ง ในโปรแกรม และทำงานตามคำสั่งนั้น ๆ ซึ่งเป็นคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ การรับข้อมูลนำเข้า การคำนวณ การปฏิบัติการทางตรรกะ และการสร้างผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ประพัฒน์ อุทโยภาส (2532 : 9) ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ว่า เป็นเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นมาที่สามารถแก้ปัญหา เขียนภาพ พิมพ์อักษร เก็บรักษาและค้นหาข้อมูล เล่นเกม และอื่น ๆ อีกสารพัด
ศรีศักดิ์ จามรมาน (2532 : 39) ได้กล่าวถึงคอมพิวเตอร์ว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่มีการทำงานด้วยความเร็ว มีความสามารถในการจดจำสิ่งต่าง ๆ และนอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังให้ความละเอียดเที่ยงตรง (Accuracy) และมีความซื่อตรงต่อคำสั่ง (Faithfulness)
สิทธิชัย ประสานวงศ์ (2526 : 1) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ
ยุพิน ไทยรัตนานนท์ (2527 : 11) ได้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานแทนมนุษย์ในการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและอักษร เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ (Symbol) ด้วยความเร็วสูง
ทักษิณา สวนานนณ์ (2530 : 12) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นโดยมนุษย์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงสมองด้วยการประมวลผลข้อมูลได้ตามคำสั่งที่กำหนด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2532 : 1) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถจะรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล เปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
จำนง ภูมิพันธุ์ (2533 : 15) ได้กล่าวถึง ความหมายของคอมพิวเตอร์ว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อจัดกระทำข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยความเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ โดยดำเนินการจัดกระทำตามขั้นตอนของโปรแกรมที่วางไว้
สุพัตรา บุญมา (2537 : 4) ให้ความหมายว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง กลุ่มของ เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมตัวกันเข้าเป็นระบบ (System)
เฉลิมพล ทัพซ้าย (2534 : 7) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับเอาข้อมูลและคำสั่งเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลตามคำสั่งต่อเนื่องกันไปแล้วแสดง ผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบต่าง ๆ
กุลยา นิ่มสกุล (2532 : 2) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือทันสมัยที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ช่วยทำงานที่สลับซับซ้อน หรืองานที่มีปริมาณมาก ๆ ให้เสร็จด้วยความถูกต้องภายในระยะเวลาอันสั้น

59271 59272




ดำรัสสิริ อุทยานานนท์ (2538 : 1) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องจักรกลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความสามารถในการทำการประมวลผลข้อมูล ซึ่งถูกป้อนเข้ามาพร้อมด้วยคำสั่งได้โดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว และแม่นยำ เราอาจกล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เป็นสมองกลที่ทำงานด้วยคำสั่งของมนุษย์ในรูปของโปรแกรมคำสั่ง และสามารถทำงานได้มากกว่า เร็วกว่า และถูกต้องกว่าสมองมนุษย์
จากความหมายของคอมพิวเตอร์ดังที่กล่าวมาแล้ว อาจสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องจักรกลอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถทำงานโดยอัตโนมัติกับข้อมูล เพื่อให้ได้ผลตามที่มนุษย์ต้องการ มีความถูกต้องรวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหา ช่วยผ่อนแรงให้กับมนุษย์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากตามที่มนุษย์ป้อนคำสั่งเข้าไป
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีขั้นตอนการจัดกระทำกับข้อมูลไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือแม้กระทั่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ มีการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูล แสดงผลข้อมูล และจัดเก็บข้อมูล โดยอาศัยคำสั่งผ่านโปรแกรมข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถรับ ได้ ด้วยความรวดเร็วถูกต้อง และสมบูรณ์ อย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ
ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการความคิด แล้วมีการแลกเปลี่ยน ซื้อขายกันและมีวัตถุประสงค์ ได้ประโยชน์จากกิจกรรมนั้น ๆ (www.mis.nu.ac.th)
ธุรกิจ หมายถึง องค์การหรือกิจการที่ทำให้เกิดสินค้า และบริการ ธุรกิจเป็นกระบวนการทั้งหมดของการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนไปตาม กรรมวิธีการผลิตด้วยแรงคน และเครื่องจักรให้เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการ กิจกรรมทางธุรกิจจึงรวมทั้งการผลิต การซื้อ การขาย การจำแนกแจกจ่ายสินค้า การขนส่ง การประกันภัย และอื่น ๆ (www.thaiall.com/business./syllabus.htm)
ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้การผลิตสินค้า และบริการมีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และมีการกระจายสินค้าและมีประโยชน์ได้กำไรจากกิจการนั้น ธุรกิจมีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ในสังคมปัจจุบันมาก เพราะนอกจากจะเป็นองค์การที่ผลิตสินค้า หรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงค์ชีวิต หรือปัจจัยสี่ การประกอบธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก หรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือกำไร เพราะกำไรเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญในทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันและขยายตัวกันมากในทางธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าว หน้ากันมากขึ้น (www.thaiall.com/business./syllabus.htm)
ธุรกิจ หมายถึง ความพยายามที่เป็นแบบแผนของนักธุรกิจในการผลิต และขายสินค้า หรือบริการ เพื่อสนองความต้องการของสังคมโดยมุ่งกำไร(www.thaiall.com/business. /syllabus.htm)
เพราะฉนั้นคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในงานธุรกิจ เพื่อทำให้เกิดผลกำไร และมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น


 การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketing)
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เรียกกันว่ายุคนี้ คือ ยุคดิจิตอล ระบบการตลาดก็เช่นเดียวกัน ผลจากเทคโนโลยีทำให้ระบบการตลาดเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การตลาดต้องปรับตัวให้ทัน กับระบบการค้า บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า Electronic Marketing หรือ E-Marketing เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบ ดั้งเดิม (Traditional Marketing) กับการตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งทางด้านแนวคิด ลูกค้า สินค้าและบริการ  และกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ

นิยามของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
การตลาดอิเล็กทรอนิกส์หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นกิจกรรม ที่เป็นการสื่อสาร 2 ทาง และเป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถติดต่อกับผู้บริโภคได้ทั่วโลกและ ตลอดเวลา

ลักษณะพิเศษของการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
1. ตลาดเป็นตลาดเฉพาะเจาะจง (Niche Market) ลูกค้ามาที่เว็บไซต์มีจุดมุ่งหมาย จะซื้อสินค้าที่เขาอยากได้ เช่น ผู้ที่ต้องการซื้อรองเท้าก็จะเข้ามาดูเว็บที่ขายรองเท้า
2. เป็นการแบ่งส่วนตลาดเชิงพฤติกรรม (Behavioral Segmentation) การจัดกลุ่มลูกค้าพิจารณาจากความ   สนใจคุณค่าที่ลูกค้าให้ต่อสินค้าหรือ บริการใดบริการหนึ่ง และวิถีชีวิตของลูกค้า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งกำหนด พฤติกรรมของลูกค้า
3. เป็นการตลาดแบบตัวต่อตัว (Personalize Marketing / P - Marketing)  ลูกค้าสามารถ กำหนดรูปแบบของสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนซึ่งอาจจะแตกต่างกับ ผู้อื่น
4. ลูกค้ากระจายอยู่ทั่วโลก เพราะระบบอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ทั่วโลก ทำให้ตลาดกว้างใหญ่ไพศาล
5. ทำธุรกิจได้ตลอดเวลา ผู้ขายสามารถเปิดร้านขายได้ 365 วัน 24 ชม. โดยมาตราฐานคงที่ ซึ่งคุณลักษณะ ข้อนี้ได้เปรียบกับการค้าแบบดั้งเดิม ซึ่งบุคลากรต้องการพักผ่อน ถ้าจะขาย 24 ชม. ต้องใช้พนักงานขายถึง 2 -3 คน
6. ข้อมูลของสินค้าและบริการเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคจะรู้จักและเกิดความรู้ในสินค้า (Product Knowledge)  จากข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์  เขาไม่มีพนักงานขายคอยแนะนำ
7. ธุรกิจออนไลน์เป็นกิจกรรมทางการตลาดแบบผสม บนเว็บไซต์การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การขาย การชำระเงินและกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เกิดซื้อขายสินค้า  อยู่รวมกันบนเว็บไซต์
8. เป็นการสื่อสาร 2 ทาง  ผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถโต้ตอบกันได้ทันที
9. เป็นการดำเนินธุรกิจด้วยต้นทุนต่ำ เพราะใช้บุคลากรจำนวนน้อย การสื่อสารการตลาดทำได้รวดเร็วและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ซึ่งถ้าเป็นการตลาดแบบดั้งเดิมการจัดทำแค็ตตาล็อก  หรือชิ้นงานโฆษณาจะต้องใช้เวลานาน และใช้งบประมาณสูง แต่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ผู้ขายสามารถจัดทำได้เร็วและราคาถูก นอกจากนี้ธุรกิจแบบนี้ยังไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินถาวรที่ราคาสูง เช่น สถานที่ทำงาน อุปกรณ์สำนักงาน เพราะติดต่อกับลูกค้าบนจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น
10. สินค้าบางประเภทจะถูกจัดส่งให้ลูกค้าได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เช่น การดาวน์โหลดเพลง หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์

เครื่องมือหลักๆ ในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์
1. เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) คือ การจัดทำเว็บไซต์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดเช่น เพื่อขายสินค้า เพื่อประชาสัมพันธ์บริษัท
2. อีเมล์ (E-mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังลูกค้า หรือบุคคลที่พบปะด้วย
3. เมล์ลิ่งลิสต์ (Mailing list) คือ กลุ่มของบุคคลที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ซึ่งในด้านการตลาดถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมาก เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด เนื่องจากแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
4. เว็บบอร์ด (Web board) คือ กระดานข่าวที่ให้ผู้คนเข้ามาเสนอแนวความคิดหรือพูดคุยกัน ในด้านการตลาดสามารถใช้เว็บบอร์ดเป็นที่สร้างกระแสได้ ซึ่งจะทำให้ผู้คนรู้จักหรือทราบในเรื่องที่เราต้องการสื่อสารซึ่งถือเป็น สื่อ (Medium) ชนิดหนึ่งในการประชาสัมพันธ์

แผนการตลาดมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

ต่อไปนี้คือองค์ประกอบของแผนการตลาดว่าควรมีลักษณะอย่างไร และควรมีเนื้อหาอะไรในแต่ละส่วนบ้าง

1. สถานการณ์การตลาดในปัจจุบัน
นำเสนอภาพรวมข้อมูลภูมิหลังของตลาด ผลิตภัณฑ์ คู่แข่งขัน การจัดจำหน่าย และสิ่งแวดล้อมมหภาค
องค์ประกอบแรกของแผนการตลาดนั้นได้แก่ภาพรวมของสถานการณ์การแข่งขันใน ตลาดธุรกิจในกลุ่มเดียวกันกับธุรกิจของเรา ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย ต้นทุน กำไรของคู่แข่ง ช่องทางในการขาย รวมถึงอิทธิพลต่างๆ ที่ส่งผลต่อธุรกิจ ทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เพื่อนำข้อมูลส่วนนี้ไปทำการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและความเสี่ยงของธุรกิจ หรือที่เรียกว่าการวิเคราะห์ SWOT ต่อ โดยข้อมูลส่วนนี้จะเป็นการรายงานสถานการณ์และข้อมูลต่างๆ เท่านั้น จะยังไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลใดๆ

2. การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด
นี่คือส่วนที่เริ่มนำข้อมูลจากหัวข้อที่แล้วมาวิเคราะห์ SWOT หรือก็คือ S-Strength (จุดแข็งของธุรกิจ ), W-Weakness (จุดอ่อนของธุรกิจ) , Opportunity (โอกาสของการทำธุรกิจ) และ Threats (อุปสรรคในการทำธุรกิจ) เพื่อดูว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเหมาะสำหรับการลงทุนและการแข่งขันหรือไม่ มีประเด็นอะไรที่ต้องระวังเป็นพิเศษ หรือบางกรณีอาจจะเห็นว่ามีโอกาสที่น่าสนใจที่ธุรกิจเราควรจะรีบเข้าไปจับ
SWOT
3. วัตถุประสงค์
ส่วนนี้จะเป็นการกำหนดผลลัพธ์ของธุรกิจที่เราต้องการตามช่วงระยะเวลาของ แผนการตลาดที่เราตั้งเอาไว้ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายโดยรวมของกิจการ เป้าหมายของแต่ละด้านในธุรกิจอย่างการเงินเช่น ยอดขาย หรือกำไร ซึ่งเป้าหมายทั้งหมดที่ตั้งไว้ในแต่ละส่วนควรมีลักษณะที่สอดคล้องกัน

4. กลยุทธ์ทางการตลาด

การวิเคราะห์ STP จะช่วยให้เราทำความเข้าใจลูกค้าและตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์เราได้ชัดเจนขึ้น
กลยุทธ์ทางการตลาดถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ โดยปกติแล้วการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของแต่ละธุรกิจจะเริ่มต้นด้วยการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลัก STP เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าที่เราจะเปลี่ยนให้มาเป็นลูกค้า เป้าหมายว่าเราต้องการอะไรจากการทำการตลาด และตำแหน่งทางการตลาดว่าแบรนด์เราอยู่ที่ระดับใดในใจลูกค้าเพื่อทำการตลาด ให้ตรงกับภาพที่ลูกค้ามองเห็นหรือเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการ โดยอธิบายหลัก STP คร่าวๆ ดังนี้
S-Segmentation คือการแบ่งส่วนของการตลาด โดยนิยมใช้ 4 ลักษณะดังนี้
1. แบ่งตามภูมิศาสตร์ ว่าเป็นในเมืองหรือชนบท
2. แบ่งตามประชากรศาสตร์ ตามเรื่องของอายุ เพศ หรือรายได้
3. แบ่งตามจิตวิทยา ดูตามฐานะทางสังคม หรือรูปแบบการดำเนินชีวิต
4. แบ่งตามพฤติกรรม สังเกตจากโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อว่ามีความถี่แค่ไหน และความภักดีต่อแบรนด์มีมากเพียงใด
T-Targeting เป็นการกำหนดเป้าหมายในการทำการตลาด โดยเรามีหน้าที่ต้องมองให้ขาดว่าผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเราเป็นใคร และต้องผลิตภัณฑ์ที่ออกมาในลักษณะใดเพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขา

P-Positioning คือการวิเคราะห์ว่าเราอยู่ตำแหน่งใดในตลาด เรามีความโดดเด่นทางด้านไหน หรือแม้กระทั่งว่าเราต้องการอยู่ที่จุดใดในใจของลูกค้า เพื่อดึงจุดแข็งและสร้างจุดเด่นนั้นให้กลายเป็นภาพลักษณ์ของเราไปอยู่ในใจ ของลูกค้า

5. แผนการดำเนินงาน
นี่คือส่วนที่เราจะอธิบายว่าเราจะนำกลยุทธ์การตลาดที่กำหนดไว้มาทำให้ เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร โดยอธิบายกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ที่เราจะลงมือทำงานจริงๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งองค์ประกอบของแผนที่ดีต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้ “ทำอย่างไรสำเร็จ” “ใช้ระยะเวลาเท่าใด” “ใครเป็นผู้ดำเนินงาน” “ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร” และที่สำคัญคือ “มีวิธีวัดผลความก้าวหน้าได้อย่างไร (KPI)”
timeline

6. แผนทางการเงิน
ในฝั่งรายได้นั้นแผนทางการเงินจะทำให้เราสามารถคาดคะเนยอดขายล่วงหน้าได้ และในด้านรายจ่ายก็จะสามารถประมาณการต้นทุน
ในฝั่งรายได้นั้นแผนทางการเงินจะทำให้เราสามารถคาดคะเนยอดขายล่วงหน้าได้ และในด้านรายจ่ายก็จะสามารถประมาณการต้นทุนที่คาดว่าจะใช้ในด้านการผลิต การจัดจำหน่าย และการตลาดได้ ซึ่งเรานำความแตกต่างระหว่างรายได้กับรายจ่ายมาเป็นการคาดการณ์กำไรได้อีก ด้วย หลังจากนั้นเราควรวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินในมุมมองต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพคล่องทางการเงินว่ามีหมุนเวียนอยู่ในธุรกิจเท่าไร เพื่อที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้มั่นใจได้ว่าเรายังมีเงินไว้ดำเนิน ธุรกิจต่อไปอยู่ โดยอาจสมมุติเป็นสถานการณ์จำลองต่างๆ ในกรณีสถาการณ์ดี ปกติ หรือในกรณีที่สถานการณ์แย่ที่สุดเอาไว้ ว่าเราจะมีวิธีรับมืออย่างไร

7. แผนควบคุมการปฏิบัติงาน
องค์ประกอบสุดท้ายของแผนการตลาด เป็นการควบคุมดูแลและปรับปรุงการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะได้ตรวจสอบและทบทวนผลที่ออกมาจากระบวนการที่ทำและดำเนินตามความจำ เป็น ซึ่งถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดหรือไม่เป็นตามแผนที่วางไว้ ก็ยังสามารถเตรียมแผนสำรองมารองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดสงครามราคาเมื่อมีคู่แข่งตัดราคาหรือมีกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ทำ ให้เราเสียเปรียบในระยะยาว การถูกลอกเลียนแบบสินค้าโดยไม่ผิดกฎหมาย หรือแม้กระทั่งการที่กลุ่มพนักงานรวมตัวหยุดงานก็เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่ เราควรมีแผนรับมือไว้บ้าง
• • •

ตัวอย่างของแผนการตลาด

อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะยังนึกไม่ออกว่าแล้วแผนการตลาดหน้าตาเป็นอย่างไร? เราก็เลยลองเขียนออกมาให้ดูเป็นตัวอย่างกันชัดๆ เลย โดยยกตัวอย่างเป็นแผนการตลาดของธุรกิจร้านกาแฟ INCquity
สมมุติให้ incquity เป็นร้านกาแฟสดแห่งหนึ่งที่กำลังจะเปิดใหม่ในกรุงเทพ จะต้องมีการวางแผนธุรกิจคร่าวๆ อย่างไร

1. สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของธุรกิจกาแฟสดมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะมีธุรกิจร้านกาแฟรายใหญ่ๆ จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนและกระตุ้นตลาดกาแฟให้ตื่นตัวเป็นอย่างมาก อีกทั้งกระแสความนิยมในการดื่มกาแฟของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไป จากที่นิยมกาแฟสำเร็จรูปก็เลือกที่จะหันเข้าร้านกาแฟสดแทน โดยพฤติกรรมส่วนใหญ่พบว่าลูกค้านั้นจะชอบร้านที่มีการตกแต่งสวยงามเป็น ปัจจัยหลักในการตัดสินใจมากกว่ารสชาติกาแฟเสียอีก เพราะพวกเขาเชื่อว่าร้านที่จัดแต่งดีจะทำให้เกิดบรรยากาศที่รื่นรมย์ในการ ดื่มกาแฟมากขึ้น
ซึ่งจากผลสำรวจพบว่าคนในกรุงเทพนั้นดื่มกาแฟเฉลี่ยคนละ 1.5 แก้ว/วัน ด้วยตัวเลขที่ค่อนข้างสูงนี้ทำให้ตลาดมีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง และมีผู้คนสนใจกันเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนแบ่งทางการตลาดนั้นอาจมีร้านกาแฟที่เป็นแฟรนไชส์จากต่างประเทศมา คอยจับลูกค้าระดับบนเนื่องจากราคาโดยเฉลี่ยที่ค่อนข้างสูงถึง 75 บาทขึ้นไปต่อแก้ว อย่าง Starbucks ที่เป็นร้านกาแฟที่เป็นผู้นำตลาดในสายนี้ ต่อมาคือกาแฟที่นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาสร้างแบรนด์ในไทยอย่างเช่น Coffee World หรือ Coffee Beans ที่ก่อนหน้านี้จับลูกค้าระดับกลางถึงสูง แต่ตอนนี้เน้นตลาดลูกค้าที่มีกำลังซื้อเท่านั้นแล้ว และแบบที่เป็นร้านกาแฟที่คนไทยลงทุนเองหรือเปิดในรูปแบบแฟรนไชส์ก็จะมี ตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ที่เราไม่ค่อยได้ยินชื่อจนไปถึงร้านใหญ่ๆ อย่าง Black Canyon ซึ่งราคาก็จะมีความหลากหลายมาก

2. การวิเคราะห์โอกาส
จากสถานการณ์การตลาดข้างต้นสามารถวิเคราะห์ SWOT ได้ดังนี้
S-Strength: เมื่อดูจากพฤติกรรมผู้บริโภคแล้ว จะเห็นว่าจุดแข็งของ INCquity Coffee อยู่ที่การให้ความสำคัญกับการจัดร้านให้มีความสวยงามและน่านั่ง ความสะอาด และความสะดวกสบายของลูกค้าเป็นอันดับแรก ซึ่งการบริการที่น่าประทับใจและเป็นมิตรกับลูกค้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ สำคัญในการที่ทำให้ลูกค้ารักในแบรนด์โดยไม่ได้สนใจในเรื่องราคาสักเท่าไร คุณค่าของร้านจึงช่วยให้เราตั้งราคาสูงขึ้นมาได้กว่าร้านทั่วๆ ไป ซึ่งทางร้านจะมีการจัดฝึกอบรมระเบียบของพนักงานเป็นอย่างดี
W-Weakness: ในตอนเริ่มต้นยังไม่มีลูกค้าประจำ จึงต้องใช้กลยุทธ์มากขึ้นในการโปรโมทให้ลูกค้ารู้จัก หรือทำโปรโมชั่นต่างๆ สัก 3-4 เดือน โดยต้องยอมลงทุนในส่วนนี้มากหน่อย
O-Opportunity: เมื่อสำรวจแล้วพบว่าร้านกาแฟที่เป็นคู่ แข่งส่วนมากไม่ได้บริหารด้วยตัวเจ้าของร้านเอง อาจทำให้ พนักงานในร้านส่วนมากขาดระเบียบวินัยในการบริการ โดยเราสามารถพัฒนาในส่วนนี้ให้เหนือกว่าได้ รวมถึงแนวโน้มพฤติกรรมคนกรุงเทพที่หันมาดื่มกาแฟสดมากขึ้น แทนที่จะเป็นกาแฟสำเร็จรูป ก็ทำให้ร้านเราซึ่งเน้นคุณภาพเม็ดกาแฟคั่วสดเองที่ร้านน่าจะมีโอกาสดีที่จะ สร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ไม่ยาก
T-Threat: โอกาสสร้างแบรนด์ขึ้นมาใหม่เป็นเป็นไปได้ ค่อนข้างยาก เนื่องจากการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงและมีการแย่งชิงพื้นที่ในการทำธุรกิจสูง ทำให้ในพื้นที่ทำเลดีๆ อย่างแถวสยาม สีลม หรือห้างสรรพสินค้า มีราคาที่สูงและยากที่จะเปิดตัวในแถบนั้นได้ได้ถ้าหากไม่มีสายสัมพันธ์ที่ดี มาก่อน

3. วัตถุประสงค์
INCquity Coffee มีเป้าหมายทางการเงินดังนี้
- มีรายได้จากยอดขายวันละประมาณ 6,000 บาท ด้วยกาแฟราคาเฉลี่ยที่ 60 บาท/แก้ว โดยคาดหวังว่าจะขายกาแฟได้ 70-100 แก้วต่อวัน
- สร้างชื่อของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 30% ภายในสิ้นปีถัดไป

4. กลยุทธ์ทางการตลาด
วิเคราะห์ STP
S-Segmentation: กลุ่มของผู้ที่ดื่มกาแฟ
T-Target: มีตลาดเป้าหมายเน้นไปทางผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อปานกลางถึงสูง อาจเป็นนักธุรกิจ นักศึกษา คนทำงาน หรือแม้แต่นักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ หรือกำลังหาบรรยากาศที่รื่นรมย์ สะอาด และสร้างความสะดวกสบายในการทำงานหรืออ่านหนังสือ
P-Positioning: ร้าน INCquity Coffee นั้นจัดอยู่ในกลุ่มกาแฟราคาปานกลางในท้องตลาด แต่เน้นสร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคจากการตกแต่งบรรยากาศของร้านและบริการ ที่เอาใจใส่และเป็นมิตร สำหรับผู้ที่หาที่พักผ่อนไปกับบรรยากาศ นั่งทำงาน นั่งอ่านหนังสือ แบบไม่เร่งรีบ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับกลางค่อนไปทางสูง
การจัดการผลิตภัณฑ์ : ในอนาคตอาจมีการคิดค้นสูตรกาแฟใหม่ๆ ให้มีหลากหลายรสชาติ หรือกลิ่นหอมตามความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงมีการผลิตสินค้าควบคู่อย่างคุกกี้ เค้ก ไอศกรีมนำมาเป็นธุรกิจเสริมร่วมกับกาแฟ เพื่อดึงกลุ่มลูกค้าให้มีความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยในเรื่องของบรรจุภัณฑ์นั้นทางร้านจะใช้วัสดุที่ไม่สร้างมลภาวะ อย่างกระดาษแทนแก้วพลาสติก เพื่อรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีการออกแบบให้ดูดีและมีคุณค่า
การกำหนดราคา: เนื่องจากเน้นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อปานกลางจึงกำหนดราคาที่ไม่สูงมากนัก โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 60 บาท/แก้ว
การจัดจำหน่าย: ในช่วงเริ่มต้นจะขายหน้าร้าน หากมีลูกค้าสนใจเพิ่มขึ้นแต่ไม่สะดวกมาที่ร้านอาจมีบริการส่งถึงที่ในภายหลัง
การวิจัยทางการตลาด: มีการจัดแบบสอบถามถึงความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อนำสิ่งที่ยังดีไปพัฒนาในครั้งต่อๆ ไป

5. แผนการดำเนินงาน
เพื่อให้ร้านเป็นที่รู้จัก INCquity Coffee ต้องใช้เงินก้อนแรกประมาณ 20,000 บาทในการจัดแคมเปญเปิดตัว โดยแจกกาแฟวันแรกฟรี เมื่อลูกค้ากด Like เพจบน Facebook เพื่อสร้างความตื่นเต้นและเกิดกระแสปากต่อปากถึงร้านกาแฟใหม่ในหมู่ลูกค้า อีกทั้งยังเป็นการสร้างช่องทางให้ไปถึงลูกค้าได้ตลอดเวลาบนโลกออนไลน์ โดยทางร้านอาจมีการจัดแคมเปญอยู่ในทุกๆ 2-3 เดือนเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความสนใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงจุดนี้ต้องมีการวัดผลไว้อยู่ทุกครั้งว่าแต่ละกิจกรรมเพิ่มจำนวน ลูกค้าได้มากขนาดไหน และกิจกรรมแบบใดที่ลูกค้าจะให้ความสนใจมากที่สุด

6. แผนการเงิน
ในตอนเริ่มแรกทางร้านจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000,000-1,500,000 บาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรอย่าง ค่าก่อสร้าง ตกแต่งสถานที่ และค่าอุปกรณ์ต่างๆ ไป 90% โดยอีก 10% ที่เหลือจะเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับค่า วัตถุดิบสินค้า (กาแฟ) ค่าภาชนะ ค่าพนักงาน รวมถึงค่าเช่าที่ต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถปรับเพิ่ม-ลดได้ตามความเหมาะสม โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือนอาจแยกได้คร่าวๆ ดังนี้
- ต้นทุนกาแฟต่อเดือน (120 แก้ว x 18 บาท/แก้ว x 30 วัน) 64,800 บาท/เดือน
- ค่าจ้างพนักงาน (ทำความสะอาด+พนักงานร้าน) 18,000 บาท/เดือน
- ค่าเช่าพื้นที่ 30,000 บาท/เดือน
- ค่าน้ำ ค่าไฟ 7,000 บาท/เดือน
- ค่าจิปาถะ (ค่าโปรโมท ค่าการตลาด ค่าขนส่ง) 5,000 บาท/เดือน
รวมงบประมาณต่อเดือน 124,800 บาท/เดือน
รวมรายได้จากการขายต่อเดือน (120 แก้ว x 60 บาท/แก้ว x 30 วัน) 216,000 บาท/เดือน
รวมกำไรโดยประมาณต่อเดือน (216,000 – 124,800) 91,200 บาท/เดือน

7. แผนควบคุมการปฏิบัติงาน
ในส่วนของแผนปฏิบัติงานทาง INCquity Coffee ได้มีการทำแบบประเมินความพึงพอใจของลูกค้าอยู่เสมอเพื่อทำการปรับปรุงแก้ไข ให้ตรงความค้องการลูกค้ามากขึ้น และยังมีแผนการงานเงินสำรองกรณีฉุกเฉินต่างๆ รวมถึงให้ความสำคัญกับสินค้าเสริมอื่นๆ อย่างพวกเค้ก คุกกี้ หรือเบเกอรี่ต่างๆ เผื่อเกิดกรณีที่กาแฟขาดนำเข้าขาดแคลนหรือไม่เป็นที่นิยมแล้ว เป็นต้น


 ในการเริ่มต้นทำธุรกิจ เงินทุนถือปัจจัยที่สำคัญมากปัจจัยหนึ่ง เพราะไม่ว่าคุณจะทำอะไรคุณก็จำเป็นต้องใช้มันในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มา ซึ่งสิ่งที่คุณจำเป็น สำหรับนักธุรกิจหน้าใหม่ที่มีฐานะร่ำรวยอยู่แล้วก็คงไม่มีปัญหา แต่สำหรับอีกหลายคนที่ไม่เป็นเช่นนั้นก็จำต้องหาแหล่งเงินทุนเพื่อกู้ยืม ซึ่งต่อไปนี้เราจะแนะนำแหล่งเงินทุนต่างๆให้คุณได้รู้จัก

แหล่งที่มาของเงินทุน

ครอบครัว ญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูง

จัดว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุด เพราะด้วยความคุ้นเคย และเชื่อใจกัน ทำให้คุณไม่ต้องวิ่งวุ่นหาหลักประกันหรือคนค้ำสัญญาให้วุ่นวาย ระยะเวลาดำเนินการก็สั้น อัตราดอกเบี้ยที่ต้องเสียก็อาจจะน้อยกว่าการกู้จากแหล่งอื่นๆ หรือไม่ต้องเสียเลยก็มี ทั้งคุณยังสามารถขอยืดระยะเวลาปลอดหนี้ไปได้นานกว่าเมื่อเทียบกับการกู้เงิน ลงทุนจากที่อื่น ยิ่งถ้าเครดิตของคุณดี มีประวัติการทำงานใสสะอาดน่าเชื่อถือ แถมแผนธุรกิจของคุณก็ดูมีแนวโน้มว่าน่าจะประสบความสำเร็จแล้วล่ะก็ บางทีญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงอาจสนใจ และเสนอตัวขอร่วมทุนเป็นหุ้นส่วนด้วยเลยก็ได้

เครดิตการ์ด

เครดิตการ์ดมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในเรื่องการจัดการกระแสเงินสด (Cash Flow Management) ในระหว่างการทำธุรกิจ เช่น ถ้าคุณสั่งซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่าย แล้วใช้บัตรเครดิตในการชำระเงิน คุณก็จะสามารถยืดระยะเวลาชำระเงินไปได้อีกประมาณ 30-55 วัน (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ตกลงไว้ในการทำบัตรเครดิตนั้นๆ) ถ้าวงเงินที่ต้องชำระไม่พอ คุณก็อาจจะใช้วิธีเปิดบัตรเครดิตมากกว่าหนึ่งใบก็ได้ ระหว่างนั้นพอคุณจำหน่ายสินค้าแล้วได้เงินมาก็ทยอยมาจ่ายให้ครบจำนวนตามเวลา ที่กำหนดข้อดีของการใช้เงินทุนจากบัตรเครดิตคือไม่ต้องเสียเงินค่าดอกเบี้ย (ในกรณีที่คุณชำระเงินเต็มจำนวน และทันตามระยะเวลาที่กำหนด) แถมยังได้ลุ้นรางวัลจากการสะสมแต้มซึ่งเป็นโปรโมชั่นเสริมสำหรับผู้ใช้บัตร เครดิตของธนาคารต่างๆอีกด้วย

สถาบันการเงิน

ขั้นตอนในการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารนั้นยุ่งยากกว่าการกู้เงินจากแหล่งเงินกู้อื่นๆ แต่ก็ให้วงเงินค่อนข้างสูง
สถาบันการเงิน หรือธนาคารถือเป็นแหล่งเงินกู้ยอดฮิตที่นักธุรกิจรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะให้วงเงินในการกู้ยืมที่ค่อนข้างสูง และมีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมกว่าแหล่งอื่นๆแล้ว แต่ละธนาคารต่างก็สนใจระบายเงินฝากที่มีมากจนล้นออกมาในรูปแบบสินเชื่อต่างๆ เต็มที่ โดยเฉพาะสินเชื่อที่กำลังมีบทบาทมากในวงการธุรกิจไทยอย่างสินเชื่อ SMEs แต่ดังที่ได้กล่าวเป็นแล้วว่าเงินสินเชื่อนั้นก็คือเงินฝากของลูกค้าธนาคาร คนอื่นๆนั่นเอง ทั้งธนาคารก็ไม่ใช่ผู้ที่รู้จักมักคุ้นกันมาก่อน ทำให้ขั้นตอนในการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารนั้นยุ่งยากกว่าการกู้เงินจาก แหล่งเงินกู้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารที่มากมาย หลักทรัพย์ ไปจนถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งธนาคารจำเป็นต้องใช้เวลานานเพื่อตรวจสอบให้รอบคอบว่าทางธนาคารจะได้ทั้ง เงินต้นและดอกเบี้ยคืนจริง

ตัวอย่างรายละเอียดคร่าวๆของสินเชื่อ SMEs ธนาคารต่างๆ 
ธนาคาร วงเงิน  หลักประกัน  ระยะเวลา  อัตราดอกเบี้ย  หมายเหตุ 
 ออมสิน ไม่เกิน 200,000 บาท  -เอกสารประกอบการกู้ทั่วไป
-ผู้ค้ำประกัน
-หลักทรัพย์ จำพวกบัญชีเงินฝากออมสิน, ที่ดิน(พร้อมสิ่งปลูกสร้าง), หลักประกันโครงการแปลงสินทรัพย์
ไม่เกิน 5 ปี  *MLR + 2%  ผู้กู้ต้องทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ 
 กสิกรไทย 100,000-1,000,000 บาท  -เอกสารประกอบการกู้ทั่วไป
-ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของกิจการ (เพิ่มเติมอสังหาริมทรัพย์, บัญชีเงินฝาก, พันธบัตรรัฐบาล ได้)
 ไม่เกิน 5 ปี **MRR + 2%   มีโปรโมชั่นเสิรม เช่น มีที่ปรึกษา, จัดอบรม ฯลฯ
 ยูโอบี ไม่เกิน 40 ล้านบาท  -เอกสารประกอบการกู้ทั่วไป
-ผู้ค้ำประกัน
-เงินฝาก, กองทุนรวม, ที่ดิน, อาคารพาณิชย์ ฯลฯ
     -  18%                        - 
*MLR = อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา
** MRR = อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี

ลิสซิ่ง

ข้อดีของลิสซิ่งคือคุณไม่ต้องลงทุนจ่ายเงินก้อน ใหญ่ในการซื้ออุปกรณ์ ไม่ต้องหาหลักทรัพย์อื่นๆมาค้ำประกัน และสามารถปัดไปเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนได้
การเช่าทรัพย์หรือลิสซิ่ง(Leasing) มีประโยชน์มากในกรณีที่คุณต้องการอุปกรณ์ทางธุรกิจต่างๆ เช่น เครื่องมือประกอบการ ยานพาหนะ รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างคอมพิวเตอร์ เพื่อมาใช้สอยในการประกอบการ โดยที่คุณไม่ต้องเสียเงินส่วนที่จะเอาไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อมาซื้อ ข้อดีของลิสซิ่งจึงอยู่ที่คุณไม่ต้องลงทุนจ่ายเงินก้อนใหญ่ในการซื้ออุปกรณ์ ไม่ต้องหาหลักทรัพย์อื่นๆมาค้ำประกัน ทั้งค่าใช้จ่ายในการเช่าซื้อยังสามารถปัดไปเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนได้ แต่ข้อเสียของลิสซิ่ง คือ ยิ่งคุณยกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อนเวลามากเท่าไหร่คุณก็จะยิ่งเสียค่าปรับมาก เท่านั้น หรือเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วคุณไม่ได้ติดสินใจซื้ออุปกรณ์นั้นๆ คุณก็จะต้องจ่ายค่าเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ด้วย

บริษัทร่วมลงทุน และนักลงทุนส่วนบุคคล

ทำแผนธุรกิจให้ดึงดูดใจ และมีจุดผิดพลาดน้อยที่สุดเพื่อให้นักลงทุนอยากมาลงทุนด้วย
การลงทุนแบบบริษัทร่วมลงทุน (Venture Capitalists) และนักลงทุนส่วนบุคคล (Angel Investors) ถือว่ายังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักในวงการธุรกิจไทย แต่ในต่างชาตินั้นบริษัทร่วมลงทุนและนักลงทุนส่วนบุคคลถือว่ามีบทบาทมาก สำหรับธุรกิจแนวใหม่ที่มีความเสี่ยงสูงจนธนาคารและสถาบันการเงินไม่กล้า ปล่อยเงินกู้ให้
บริษัทร่วมลงทุนและนักลงทุนส่วนบุคคลนั้นจะไม่ได้รู้จักกับว่าที่เจ้าของ กิจการเป็นการส่วนตัว แต่เป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์มากและเล็งเห็นว่าธุรกิจของผู้ประกอบการรายใหม่ นั้นแม้จะมีความเสี่ยงมากก็ตาม แต่ก็มีโอกาสจะประสบความสำเร็จมากเช่นกัน  จึงให้การสนับสนุนเรื่องการลงทุนซึ่งถือว่าเป็นโอกาสทองสำหรับนักธุรกิจมือ ใหม่
แต่ข้อเสียของการกู้ยืมจากบริษัทร่วมลงทุนและนักลงทุนส่วนบุคคลก็มีเช่น กัน เพราะไม่ใช่ว่าเขาจะยอมตอบตกลงกับคุณง่ายๆ ทั้งในแต่ละวันก็มีคนเอาโครงการต่างๆมานำเสนอมากมาย คุณจึงต้องทำแผนธุรกิจให้ดึงดูดใจ และมีจุดผิดพลาดน้อยที่สุดเพื่อให้เขาอยากมาลงทุน แถมคุณยังอาจเสียอิสระในการทำงาน กล่าวคือองค์กรหรือบุคคลเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทต่างๆในการดำเนินการกับคุณ ด้วย ทั้งยังมีเร่งรัดเรื่องกระบวนการมากเป็นพิเศษ เนื่องจากกลุ่มผู้ลงทุนเหล่านี้ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้เขาต้องการเห็นผลกำไรที่เร็วที่สุด

เงินกู้นอกระบบ

มีขั้นตอนและการพิจารณารวดเร็ว และสะดวกกว่าการกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงิน แต่มีข้อเสียตรงที่เก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก คุณจึงควรพิจารณาทางเลือกนี้เป็นทางเลือกสุดท้ายหากหาแหล่งเงินทุนไม่ได้ จริงๆ หรือต้องการเงินทุนอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่าจะไปหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนไหน คุณก็ควรจะคิดให้รอบคอบเสียก่อน เพราะแต่ละแห่งก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ใด คุณก็ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมโดยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และจัดทำแผนธุรกิจที่น่าเชื่อถือเพื่อไปนำเสนอ รับรองว่าจะต้องมีสักแห่งที่ตอบตกลงกับคุณอย่างแน่นอน



คุณลักษณะของนักธุรกิจ

            คุณลักษณะของนักธุรกิจหรือบุคลิกภาพของนักธุรกิจ
หมายถึง ลักษณะ ท่าทาง หน้าตา การแต่งกาย การวางตัว ความเฉลียวฉลาด
และไหวพริบในการดำเนินกิจการของนักธุรกิจ


นักธุระกิจควรมีคุณสมบัติดังนี้ 

 1. มีการแต่งกายที่สุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับเวลาและโอกาส
       
2. มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
       
3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล
โดยไม่หวั่นกลัวต่อการประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการ
       
4. เป็นผู้มีไหวพริบดี สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้
โดยมีความเสียหายน้อยที่สุด และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา
       
5. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี เพื่ออำนวยประโยชน์ในด้านการสื่อสารและติดต่อค้าขาย
       
6. เป็นผู้มองการณ์ไกล หมั่นศึกษาและหาประสบการณ์
เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติมอยู่เสมอ
      
7. มีความอดทน มุมานะในการทำงาน และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า
ที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้
      
8. มีความซื่อสัตย์ในการให้บริการ หรือผลิตสินค้าให้อยู่ในมาตรฐานที่ตั้งไว้
ไม่ปลอมแปลงปลอมปน หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไม่ดี
ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการเพื่อหวังผลประโยชน์
       
9. มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า คู่ค้า พนักงานในองค์กร และสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนมีความเมตตากรุณา การต้อนรับยินดี และรู้จักการเสียสละ
โดยมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
                   
9.1 มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการใช้สินค้าหรือบริการ
ของลูกค้าและคู่ค้า ยินดีที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
โดยเห็นแก่ความถูกต้องยุติธรรมเป็นสำคัญ
                   
9.2 ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กฎหมายแรงงาน และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
อย่างเคร่งครัด โดยลดการเอารัดเอาเปรียบคนงานและผู้บริโภค
จ่ายค่าแรงงาน และสวัสดิการในการบริโภคตามที่กฎหมายกำหนด
                   
9.3 สร้างงานที่มีการจ้างแรงงานสูง เช่น งานก่อสร้าง งานการเกษตร และงานให้
บริการต่าง ๆ แม้ว่างานเหล่านี้ในแง่ธุรกิจอาจให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก แต่ก็เป็น
การช่วยสังคมให้มีอัตราการว่างงานน้อยลง
                  
 9.4 กำหนดราคาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสม ไม่ควรกำหนดราคาสูงไปเพื่อ
หวังผลกำไรหรือไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่เกิดเภทภัยต่าง ๆ
                
  9.5 ป้องกันมลภาวะเป็นพิษทางด้านน้ำ อากาศและเสียงจากธุรกิจ
อุตสาหกรรม โดยมีระบบการกำจัดหรือควบคุมให้ถูกต้องและเหมาะสม
                   
9.6 ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษา ทั้งสถาบันของรัฐและเอกชนตาม
สมควรซึ่งทำได้โดยให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
ให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ฝึกงานแก่นักเรียนนักศึกษา
หรือเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิไปบรรยายให้นักศึกษาฟังในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
               
9.7 ให้ความร่วมมือในด้านสุขภาพอนามัย ทั้งของพนักงานในสังกัดและบุคคลทั่ว
ไปตามโอกาสอันสมควร ตลอดจนสนับสนุนด้านสันทนาการและกิจกรรมต่าง ๆ
ของสังคม เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือชาวบ้าน กิจกรรมการกุศล
เป็นต้น



อุดมการณ์ซึ่งนักธุรกิจพึงมี ได้แก่
       
1. หมั่นประกอบการดี และประพฤติตนเป็นคนดี
      
2. มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับประโยชน์ของคนทั่วไป
       
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
      
4. ดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและยึดถือปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมการจัดการธุรกิจ
แห่งประเทศไทย
      
5. ละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แต่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุ
ประสงค์ของกิจการ โดยคำนึงถึงข้อปฏิบัติของการจัดการที่ดี
       
6. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติต่อบุคคลอื่น ต้องตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเสมอภาค
ของกลุ่มและบุคคล

กลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจ
       
การประกอบธุรกิจใด ๆ ก็ตาม อยู่ในสภาวการณ์ที่มีความเสี่ยงทั้งสิ้น เพราะอาจ
ประสบกับความล้มเหลวได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อม
เพื่อรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมีแนวทางต่อไปนี้คือ
       
1. รู้ศักยภาพของตนเอง การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น
ผู้ประกอบการควรจะต้องรู้ระดับความสามารถของตนเอง
ทั้งในเรื่องทักษะและความชำนาญด้านการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น การบัญชี
การตลาด และการขาย รวมถึงการบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นพนักงานในองค์กร
ตลอดจนสำรวจข้อดีและข้อเสียของตนเอง
เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
       
2. รู้ตลาดสินค้าหรือบริการและลูกค้า การมีแผนการตลาดที่ดีเป็นปัจจัยนำไป
สู่ความสำเร็จ ดังนั้นการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดสินค้าหรือบริการและลูกค้าของตน
เอง จะทำให้สามารถวิเคราะห์และเข้าใจถึงสถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องแนวโน้ม
ความต้องการสินค้าหรือบริการ ปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจการ โอกาสใน
การเข้าสู่ตลาด การเลือกทำเลที่ตั้งและกลุ่มเป้าหมาย วิธีขายสินค้า การกำหนด
ราคาสินค้าและบริการ ตลอดจนวิธีการส่งเสริมการขาย เพื่อให้เกิดผลดีต่อกิจการ
และสามารถสนองตอบตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
       
3. รู้สภาพการแข่งขันและคู่แข่ง ผู้ประกอบการจะต้องรู้จักคู่แข่งทางการค้า ซึ่ง
หมายถึงผู้ที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับเรา ทั้งในด้านทำเลที่ตั้ง
ของกิจการ รวมถึงจุดเด่นของสินค้าและบริการนั้น ๆ เพื่อที่จะได้นำมาเป็นข้อมูล
ในการพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองให้เป็นที่นิยมของลูกค้ามากกว่า
      
4. รู้นโยบายส่งเสริมจาภภาครัฐและเอกชน โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่ง
ให้การส่งเสริมการค้าและการลงทุน หรือหน่วยงานที่ให้บริการเพื่อสนับสนุนธุรกิจ
ต่าง ๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน บรรษัทเงินทุน
หรือธนาคาร เพื่อที่จะได้ทราบว่าในช่วงระยะเวลานั้น ๆ หน่วยงานใดสนับสนุนให้
ประกอบธุรกิจประเภทใดบ้าง จึงจะสามารถผลิตสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความ
ต้องการได้
      
  5. รู้แนวทางการวางแผนการเงินในระยะยาว เพื่อป้องกันความผิดพลาด
ในการดำเนินธุรกิจโดยจะต้องวางแผนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการประกอบการ มีเงิน
สำรองสำหรับการพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า และใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการ
เงินที่คาดไม่ถึง ตลอดจนสามารถรับภาระในการกู้ยืมเงินได้โดยไม่เดือดร้อน
      
6. รู้วิธีการทำบัญชี เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับตรวจสอบค่าใช้จ่ายในกิจการ
อันได้แก่รายรับ รายจ่าย ภาษี กำไร และขาดทุน ซึ่งจะนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ
รายได้ของปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมาว่าผลการบริหารงานและเป้าหมายด้านความ
สำเร็จแตกต่างกันอย่างไร หากผู้ประกอบการมีความสามารถในการทำบัญชีก็จะ
ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ และสามารถวางแผนการ
เติบโตของธุรกิจได้ในอนาคตได้
       
7. รู้วิธีบริหารงานให้มีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ โดยใช้ทักษะในด้าน
ความเป็นผู้นำที่ดี สามารถควบคุมและจูงใจให้ทีมงานทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย
มีความยืดหยุ่นในการทานสามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส และพร้อมรับมือกับ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
       
8. รู้วิธีขายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพราะคุณภาพของสินค้าและบริการ
เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของกิจการ ถ้าสินค้าหรือบริการไม่เป็นที่พอใจของ
ลูกค้า ลูกค้าก็จะไม่มาซื้อสินค้าอีก หรืออาจนำไปบอกต่อทำให้ธุรกิจเกิดความ
เสียหาย ดังนั้นจึงควรพัฒนาและปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ตรงตามความต้อง
การของลูกค้าหรือผู้บริโภคอยู่เสมอ
      
  9. รู้วิธีการเลือกบุคลากรมาร่วมงาน เจ้าของกิจการควรคัดเลือกและจัด
บุคลากรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน โดยเมื่อสังเกตเห็นว่าผู้ร่วมงานคนใดมีความ
ถนัดหรือชำนาญทางด้านใดก็จัดสรร ให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ และควรมี
การฝึกอบรมก่อนปฏิบัติงานจริง เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน นอกจากนี้
เจ้าของกิจการควรหาวิธีจูงใจให้ผู้ร่วมงานมีกำลังใจในการปฏิบัติ งานเพื่อให้ได้
ผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
      
  10. เลือกทำเลที่ตั้งกิจการได้เหมาะสม โดยพิจารณาจากชนิดหรือลักษณะ
ของสินค้าหรือการบริกาและกลุ่มเป้าหมายเป็นหลักการมากกว่าความสะดวกสบาย
ส่วนตัวของเจ้าของกิจการ และควรเป็นสถานที่จอแจ คือ มีทั้งคนเดินถนนและรถ
อยู่ในย่านธุรกิจ และมีสถานที่จอดรถ นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงค่าเช่าสถานที่ มี
บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งผลิตและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มีความสะดวกในการขนส่ง
สินค้าและบริการ ตลอดจนเป็นไปตามเขตพื้นที่ที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อการขยาย
ธุรกิจในอนาคต


แบบทดสอบ หน่วยที่ 11


1. ข้อใดคือความหมายของธุรกิจคอมพิวเตอร์
ก. คือ กระบวนการที่ใช้บุคคลหรือทรัพยากรของหน่วยงาน
ข. คือ กิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อก่อให้เกิดรายได้โดยมุ่งหวังกำไร
ค. กระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
ง. สินค้าด้านคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้รับการจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อลูกค้า

2. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการวางแผนการตลาด?
ก. สำรวจช่องทางการตลาด เพื่อสร้างผลตอบแทนให้คุ้มค่า
ข. กำหนดตลาดเป้าหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
ค. เพิ่มปริมาณธุรกิจที่ได้จากการคาดการณ์จากความน่าจะเป็น
ง. ประเมินโอกาส และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดในระยะยาว
3. แผนการขายสามารถแบ่งได้เป็นกี่ขั้นตอน?
ก. 1                                        ข. 2
ค. 3                                        ง. 4

4.จุดมุ่งหมายของการเสนอขายคือข้อใด?
ก. ชักจูงลูกค้าสู่กระบวนการซื้อ
ข. เตรียมข้อมูลในการเสนอลูกค้า
ค. การเตรียมข้อมูลของพนักงานขายที่จะเสนอต่อลูกค้า
ง. ถูกทุกข้อ

5. ข้อใดจัดว่าเป็นแหล่งเงินทุนส่วนของเจ้าของ
ก. ชักจูงลูกค้าสู่กระบวนการซื้อ
ข. เตรียมข้อมูลในการเสนอลูกค้า
ค. การเตรียมข้อมูลของพนักงานขายที่จะเสนอต่อลูกค้า
ง. ถูกทุกข้อ

6. แหล่งลงทุนที่สำคัญมาจากแหล่งใดบ้าง
ก. เงินทุนจากส่วนของเจ้าของ
ข. แหล่งเงินทุนจากธนาคารไทยพาณิชย์
ค. แหล่งเงินทุนจากธนาคารและสถาบันการเงิน
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

7. IFCT เป็นชื่อย่อของอะไร?
ก. บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ข. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ค. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ง. สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อย

8. แหล่งเงินทุนนอกระบบ คือแหลงเงินทุนชนิดใด
ก. แหล่งเงินทุนที่ทางราชการไม่สามารถควบคุมได้ อาศัยความสมัครใจระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้โดยตกลงกันเอง
ข. แหล่งเงินทุนที่กู้มาจากส่วนราชการ
ค. เงินทุนจากรัฐวิสาหกิจ
ง. แหล่งเงินทุนเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

9. ผู้ประกอบการ มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. บุคคลที่มีความคิดที่จะทำธุรกิจและเป็นผู้จัดตั้งองค์การธุรกิจขึ้นมา
ข. คณะบุคคลที่ร่วมมือจัดตั้งองค์การธุรกิจโดยไม่หวังผลกำไร
ค. ผู้จัดตั้งสมาคมหรือมูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์
ง. ถูกทุกข้อ

10. ข้อใดคือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ประกอบการที่จะประสบผลสำเร็จ?
ก. ความสามารถและความริเริ่มสร้างสรรค์
ข. มีเงินทุนเพียงพอ
ค. มีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าสม่ำเสมอ
ง. รับข้อเสนอ ข้อเรียกร้องต่างๆ จากลูกค้าไว้พิจารณา

 
11. บุคคลหรือทัพยากรทางธุรกิจที่มีอยู่ได้แก่อะไรบ้าง
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น