สาระสำคัญ
หลังจากประกอบเครื่อวคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก่อนทำการติดตั้งโปรแกรมคือ การกำหนดค่าในไบออส (BIOS) โดยปรับแต่งให้เหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งบนแผ่นเมมบอร์ด เพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ หลังจากนั้นก็จะดำเนินการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า พาร์ติชั่น (Partition) เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน
เรื่องที่จะศึกษา
- ความหมายของไบออส
- การตั้งค่าในไบออส
- รายละเอียดของเมนูต่างๆ
- การปรับปรุงไบออส
- การแบ่ง พาร์ติชั่นด้วย fdisk
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของไบออสได้
2. บอกวิธีในการตั้งค่าในไบออสได้
3. บอกรายละเอียดของเมนูต่างๆ ได้
4.บอกขั้นตอนวิธีการปรับปรุงในไบออสได้
5.สามารถตั้งค่าในไบออสและการแบ่ง พาร์ติชั่นด้วย fdisk ได้
ไบออส (Basic input output system) เป็นโปรแกรมเล็กๆที่อยู่ในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์สำหรับกำหนดรูปแบบการทำงาน
จองเครื่องที่ทำงานอยู่ในระดับต่ำกว่าระบบปฏิบัติการโดยบรรจุอยู่ในระบบ Rom
ซึ่งจะมีฟังก์ชั่นควบคุมการทำงานต่างๆที่จำเป็นต่อการบู๊ตระบบ ถ้าไบออสเสียหาย
เครื่องจะบู๊ตไม่ได้ในสมัยก่อนเมื่อประกอบเครื่องเสร็จแล้ว ทำการบู๊ตเครื่องจะไม่สามารถบู๊ตได้ทันทีจะต้องกำหนดค่าในไบออสก่อนว่ามี
สื่อบันทึกข้อมูลอะไรอยู่ในเครื่องบ้าง แต่ในปัจจุบันได้มการพัฒนาไบออสให้สามารถค้นหาและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
ได้โดยอัตโนมัติ กรณีที่มีปัญหาเครื่องทำงานไม่ถูกต้อง หากตรวจสอบส่วนอื่นแล้ว
ไม่พบข้อผิดพลาดอาจจะต้องทำการอับเดท BIOS เพื่อให้ ทำงานกับอุปกรณ์ต่างๆได้ดีขึ้น
วิธีการเช่นนี้เรียกว่า Flash BIOS ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องทำงานได้ดีขึ้น
จุดมุ่งหมายในการปรับแต่งไบออส
หากเราต้องการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งไบออสในเครื่องแล้ว แต่ถ้าต้องการให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับแต่งไบออสจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1. ปรับแต่งเครื่องให้ทำงานอย่างมีเสถียรภาพ บางครั้งถ้าปรับแต่งไบออสไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้เครื่องแฮงค์บ่อยๆ เช่น ปรับชนิด และความเร็วของแรมไว้ไม่ถูกต้อง
2. แก้ปัญหาฮาร์ดแวร์ต่างๆ ซึ่งบางครั้งอุปกรณ์ที่เราติดตั้งเพิ่ม อาจจะทำงานเข้ากับเครื่องไม่ได้ เช่น เครื่องพิมพ์รุ่นเก่าอาจจะไม่สนับสนุนการโอนถ่ายข้อมูลต่างๆทางพอร์ตขนาน
3. ปรับแต่งให้เครื่องทำงานได้เร็วขึ้น
ส่วนประกอบของไบออส
จุดมุ่งหมายในการปรับแต่งไบออส
หากเราต้องการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งไบออสในเครื่องแล้ว แต่ถ้าต้องการให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับแต่งไบออสจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1. ปรับแต่งเครื่องให้ทำงานอย่างมีเสถียรภาพ บางครั้งถ้าปรับแต่งไบออสไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้เครื่องแฮงค์บ่อยๆ เช่น ปรับชนิด และความเร็วของแรมไว้ไม่ถูกต้อง
2. แก้ปัญหาฮาร์ดแวร์ต่างๆ ซึ่งบางครั้งอุปกรณ์ที่เราติดตั้งเพิ่ม อาจจะทำงานเข้ากับเครื่องไม่ได้ เช่น เครื่องพิมพ์รุ่นเก่าอาจจะไม่สนับสนุนการโอนถ่ายข้อมูลต่างๆทางพอร์ตขนาน
3. ปรับแต่งให้เครื่องทำงานได้เร็วขึ้น
ส่วนประกอบของไบออส
ชิปรอมไบออส BIOS บางครั้งเรียกว่า ซีมอส (CMOS)
จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด โดยใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรม
ขนาดเล็ก ที่จำเป็นต่อการบู๊ตระบบของเครื่อง ซึ่งโดยปกติแล้วชิปรอมไบออสจะประกอบไปด้วย2
ส่วนหลัก คือ ชิปรอมไบออส และชิปรอมซีมอส
ซึ่งแต่ละส่วนจะมีพื้นฐานทางด้านโครงสร้าง และการทำงานแตกต่างกันชิปไบออส ชิปรอมไบออสถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จพเป็นต่อการบู๊ต
ระบบของคอมพิวเตอร์ ซึ่งการทำงานของชิปไบออสใช้พื้นฐานทางเทคโนโลยีของ ROM จึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล หรือโปรอกรมที่อยู่ภายใน
ดังนั้นถึงแม้ว่าเราจะปิดเครื่องหลังการใช้งานแล้ว โปรแกรมย่อยที่เก็บอยู่ในชิปไบออสจะไม่สูญหายไปแต่อย่างใดชิปซีมอส
ชิปซีมอสทำหน้าที่เก็บโปรแกรมขนาดเล็กที่ใช้ในการบู๊ตระบบ ซึ่งสามารถที่จะเก็บค่าซีมอสได้
เนื่องจากชิปซีมอสมีหลักการทำงานเหมือนกันแรม ดังนั้นชิปซีมอสจึงต้องการพลังงานไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา
เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่กำหนดไว้สูญหายไป ซึ่งพลังงานที่ใช้ในการหล่อเลี้ยง มาจากแบตเตอรี่แบกอัพนั่นเอง
หน้าที่หลักของไบออส
หน้าจอการทำงานของไบออส เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และรายงานผลการตรวจสอบ ให้เราทราบว่าอุปกรณ์ในเครื่องยังทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ ดังได้สรุปดังนี้ ตรวจสอบอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อเครื่องทุกเครื่อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผล เมาส์ คีย์บอร์ด และหน่วยความจำหลัก หากพบว่ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งทำงานไม่ถูกต้องไบออสจะแจ้งให้ทราบโดยส่ง เสียง ปี๊บ หรือแสดงข้อความแจ้งข้อผิดพลาดออกมาทางหน้าจอ
หน้าที่หลักของไบออส
หน้าจอการทำงานของไบออส เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และรายงานผลการตรวจสอบ ให้เราทราบว่าอุปกรณ์ในเครื่องยังทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ ดังได้สรุปดังนี้ ตรวจสอบอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อเครื่องทุกเครื่อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผล เมาส์ คีย์บอร์ด และหน่วยความจำหลัก หากพบว่ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งทำงานไม่ถูกต้องไบออสจะแจ้งให้ทราบโดยส่ง เสียง ปี๊บ หรือแสดงข้อความแจ้งข้อผิดพลาดออกมาทางหน้าจอ
ไบออสของAward
เป็นไบออสที่ได้รับความิยมมากที่สุด เนื่องจากมีการออกแบบให้ใช้งานง่าย Award เป็นผู้ผลิดไบออส สำหรับจำหน่ายให้กับผู้ผลิดเมนบอร์ดอย่างเดียว หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Award เพิ่มเติมให้เข้าไปที่เวบไซต์ www.award.com
ไบออสของ AMI
AMI เป็นเป็นผู้ผลิตไบออสที่เป็นผู้ริเริ่มให้ใช้เมาส์ในการคลิกปรับแต่งค่าได้ ทำให้สะดวกในการปรับแต่ง และต่อมาได้มีการปรับปรุงรูปแบบการใช้งาน จนมีความคล้ายกับไบออสของ Award หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ AMI เพิ่มเติมให้เข้าไปที่เวบไซต์ www.ami.com
ไบออสของ Phoenix
Phoenix เป็นไบออสอีกยี่ห้อหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันพอสมควร แต่อยู่ในหมู่ผู้ผลิตเครื่องมียี่ห้อ โดยไบออสของ Phoenix จะไม่มีตัวเลือกสำหรับปรับแต่งมากเท่าไหร่ เพราะผู้ผลิตเครื่องได้กำหนดค่าไบออสมาจากโรงงานแล้วในปัจจุบัน Phoenix ได้รวมกิจจะการกับ Award หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับPhoenix เพิ่มเติมให้เข้าไปที่เวบไซต์ www.award.com
การตรวจสอบไบออสของเครื่อง
หากเราต้องการตรวจสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราใช้ไบออสยี่ห้อใด สามารถตรวจสอบได้ดังนี้
1. ดูจากหน้าจอแรกระหว่างเปิดเครื่อง
2. ตรวจสอบจากคู่มือเมนบอร์ด
3. การเปิดฝาเครื่องตรวจสอบ
เป็นไบออสที่ได้รับความิยมมากที่สุด เนื่องจากมีการออกแบบให้ใช้งานง่าย Award เป็นผู้ผลิดไบออส สำหรับจำหน่ายให้กับผู้ผลิดเมนบอร์ดอย่างเดียว หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Award เพิ่มเติมให้เข้าไปที่เวบไซต์ www.award.com
ไบออสของ AMI
AMI เป็นเป็นผู้ผลิตไบออสที่เป็นผู้ริเริ่มให้ใช้เมาส์ในการคลิกปรับแต่งค่าได้ ทำให้สะดวกในการปรับแต่ง และต่อมาได้มีการปรับปรุงรูปแบบการใช้งาน จนมีความคล้ายกับไบออสของ Award หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ AMI เพิ่มเติมให้เข้าไปที่เวบไซต์ www.ami.com
ไบออสของ Phoenix
Phoenix เป็นไบออสอีกยี่ห้อหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันพอสมควร แต่อยู่ในหมู่ผู้ผลิตเครื่องมียี่ห้อ โดยไบออสของ Phoenix จะไม่มีตัวเลือกสำหรับปรับแต่งมากเท่าไหร่ เพราะผู้ผลิตเครื่องได้กำหนดค่าไบออสมาจากโรงงานแล้วในปัจจุบัน Phoenix ได้รวมกิจจะการกับ Award หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับPhoenix เพิ่มเติมให้เข้าไปที่เวบไซต์ www.award.com
การตรวจสอบไบออสของเครื่อง
หากเราต้องการตรวจสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราใช้ไบออสยี่ห้อใด สามารถตรวจสอบได้ดังนี้
1. ดูจากหน้าจอแรกระหว่างเปิดเครื่อง
2. ตรวจสอบจากคู่มือเมนบอร์ด
3. การเปิดฝาเครื่องตรวจสอบ
การรายงานผลของไบออส
เมื่อเราเปิดเครื่องหรือบู๊ตเครื่องใหม่ทุกครั้ง ไบออสบนเมนบอร์ดจะเริ่มต้นตรวจสอบการทำงานของระบบ
โดยกระบวนการที่เรียกว่า POST (Power On Self Test) การทำงานของ
POST จะตรวจว่ามีอุปกรณ์ใดติดตั้งอยู่บ้าง
และทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ หากตรวจสอบพบว่ามีอุปกรณ์ใดที่ทำงานไม่ถูกต้อง หรือไม่พบอุปกรณ์ที่เคยติดตั้งอยู่
หากสามารถแสดงทางหน้าจอได้จะปรากฏเป็นข้อความเตือนแจ้งผู้ใช้ทราบ แต่ถ้าไม่สามารถแสดงผลทางหน้าจอได้จะส่งเสียง
ปี๊บ เป็นรหัสแจ้งของผิดพลาดออกมาแทน กระบวนการตรวจสอบเครื่องของไบออส (POST)
กระบวนการ POST เป็นการตรวจสอบเครื่องของไบออสที่จะกระทำระหว่างที่เราเปิดเครื่องขึ้นมา
โดยทำการตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่างๆว่า อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องจะมีการแจ้งออกมา
ดังนี้
1. หน้าจอข้อมูลการ์ดแสดงผล ส่วนนี้จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับยี่ห้อของการ์ดจอ เวอร์ชั่นของไบออสการ์ดจอ หน่วยความจำของการ์ดจอ
2. หน้าจอตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ ในส่วนนี้จะแสดงยี่ห้อและเวอร์ชั่นของไบออส ยี่ห้อและรุ่นของเมนบอร์ด ชนิดและความเร็วของซีพียู จำนวนแรมที่ติดตั้งอยู่ ฮาร์ดดิสก์ การ์ดเสียง ถ้าหากพบว่าอุปกรณ์ใดเสียหรือทำงานไม่ถูกต้องจะแสดงออกมาทางจอ
3. หน้าจอแสดงผลการตรวจสอบอุปกรณ์ ในส่วนนี้จะแสดงรายละเอียดของอุปกรณ์ในเครื่อง และพอร์ตต่างๆ
1. หน้าจอข้อมูลการ์ดแสดงผล ส่วนนี้จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับยี่ห้อของการ์ดจอ เวอร์ชั่นของไบออสการ์ดจอ หน่วยความจำของการ์ดจอ
2. หน้าจอตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ ในส่วนนี้จะแสดงยี่ห้อและเวอร์ชั่นของไบออส ยี่ห้อและรุ่นของเมนบอร์ด ชนิดและความเร็วของซีพียู จำนวนแรมที่ติดตั้งอยู่ ฮาร์ดดิสก์ การ์ดเสียง ถ้าหากพบว่าอุปกรณ์ใดเสียหรือทำงานไม่ถูกต้องจะแสดงออกมาทางจอ
3. หน้าจอแสดงผลการตรวจสอบอุปกรณ์ ในส่วนนี้จะแสดงรายละเอียดของอุปกรณ์ในเครื่อง และพอร์ตต่างๆ
วิธีการ Set BIOS
- หลังจากเปิดเครื่องให้เราทำการกดปุ่ม F2
(เครื่องเป็น Computer Notebook ของ
ASUS ถ้าเป็นยี่ห้ออื่น
อาจจะเป็นปุ่มอื่นเช่น F8,F10) หรือ Del สำหรับ PC ประกอบ
ทั่วไป
ก็จะได้หน้าตา BIOS ดังรูปครับ (อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมดเพราะแต่ละรุ่น
จะแตกต่างกันออกไป
ให้เอาไว้เป็นแนวทางสำหรับคนที่ใช้รุ่นอื่น)
- ส่วนต่างๆ ของ Bios ก็จะมี Main, Advanced,
Display, Security, Power, Boot, Exit
(ใช้ Key ลูกศรเลื่อนซ้าย ขวา )
- Main
จะใช้ดู spec เครื่องของเราและใช้ในการปรับแต่งวันที่
เวลา
- Advanced
ที่สำคัญจะอยู่ที่ IDE Configuration เพราะใช้เลือกเพื่อการติดตั้ง
XP
- Enter
ที่ IDE Configuration จะได้ดังรูป
ถ้าจะติดตั้ง XP ต้องเปลี่ยนจาก Enhanced
เป็น Compatible
- Security
เป็นส่วนในความปลอดภัย แต่ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่น่าจะตั้ง เพราะถ้าจำ
ไม่ได้จะต้องรื้อเครื่องเลย
- Boot
ตรงนี้เป็นส่วนที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง เพราะใช้ในการตั้ง Boot จากแผ่น CD,DVD เพื่อใช้
ในการติดตั้ง Windows
- ให้เลือกตรง Boot Device Priority ครับ
จะได้ดังรูป ถ้าต้องการให้ Boot CD/DVD ก็ให้
Enter
ที่ 1st Boot Devicec แล้วเลือก CD/DVD
- Exit
เป็นส่วนของการออกจาก Bios ให้เลือก Save
Changes and Exit แต่ช่าง
ส่วนใหญ่จะกดปุ่ม F10 กันจะได้ดังรูปข้างล่าง
การแบ่งพาร์ติชั่นเรา จะแบ่งออกตามชนิดของ FAT ต่าง ๆ ได้ดังนี้
FAT16 เป็นการจัดพาร์ทิชั่นที่ใช้ใน Dos, Windows 3.1 และ Windows 95 รวมทั้ง Windows 98,
Windows Me, Windows 2000, Windows NT, Windows XP หรือ OS/2 ข้อเสียของระบบ ไฟล์นี้คือ ไม่ สามารถรองรับพาร์ติชันที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 GB ได้ จึงไม่เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลปริมาณมาก
FAT 32 เป็นการจัดพาร์ทิชั่นที่ใช้่ใำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่มีความจุของฮาร์ดดิสก์มาก ได้แก้ปัญหา ข้อจำกัดของ FAT 16 สามารถรองรับขนาดของพาร์ติชั่นได้จาก 512 KB ไปจนถึง 64 GB ต่อ 1 พาร์ติชั่น
NTFS เป็นการจัดพาร์ติชั่นสำหรับ Windows NT และ XP
ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่มักมีขนาดมากกว่า 2 GB อยู่แล้ว การแบ่งพาร์ทิชั่นจึงต้องใช้การแบ่งแบบ FAT 32
ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ในระบบ Windows 95 OSR2 หรือ Windows 98 ขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้นผู้อ่านควรจำไว้ว่าคำสั่ง Fdisk ที่มากับ Windows 95 เป็นการแบ่งแบบ FAT 16 เท่านั้นไม่สามารถแบ่งเป็น FAT 32 เหมือนใน
Windows 98 ได้
วิธีการแบ่งพาร์ทิชั่น
1. ขั้นแรก ต้องสร้างพาร์ติชั่นที่เป็น Primary DOS Partition ก่อน โดยถ้าหากจะแบ่งเป็นไดร์ฟเดียว ก็เลือกตรงนี้ให้มี
ขนาดเป็น 100% ได้เลย แต่ถ้าหากต้องการแบ่งให้เป็นหลาย ๆ ไดร์ฟ ก็กำหนดขนาดไปตามต้องการ
2. ต่อไป ต้องสร้าง Extended DOS Partition โดยกำหนดขนาดให้เท่ากับพื้นที่ ที่เหลือจากข้อ 1. ครับ ตรงนี้จะยังไม่ใช่ไดร์ฟหรือพาร์ทิชั่นตัวที่สอง แต่จะเป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับ พาร์ทิชั่นตัวที่สองหรือตัวถัดไปเท่านั้น
3. ทำการสร้าง Logical DOS Drive(s) ขึ้นมาอีกครั้ง (ซึ่งจะใช้พื้นที่ของ Extend DOS Partition ที่ได้สร้าง
ไว้แล้ว) โดยตรงนี้จะกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ต้องการสำหรับไดร์ฟถัดไป เช่นอาจจะกำหนด ให้ใช้พื้นที่ที่เหลือ อยู่ทั้งหมด เป็นอีกไดร์ฟหนึ่ง ก็เลือกขนาดเป็น 100% แต่ถ้าหากต้องการแบ่งย่อยขนาดลงไป ก็ต้องสร้าง Logical DOS Drive(s) ให้มีขนาดย่อย ๆ ตามต้องการ
ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าฮาร์ดดิสก์ขนาด 20G. ต้องการแบ่งเป็น 3 พาร์ติชั่น โดยมีขนาดเป็น 5+5+10 จากข้อ 1. ก็ต้องสร้าง Primary DOS Partition ขึ้นมาขนาด 5 G ก่อน แล้วค่อยสร้าง Extended DOS Partition ขนาด 15 G ที่เหลือ จากนั้นค่อยทำการสร้างเป็น Logical DOS Drive(s) โดยกำหนดให้มีขนาด 5G. และ 10G. ตามลำดับครับ
การใช้คำสั่ง Fdisk นั้นเป็นคำสั่งที่มาจากแผ่น Startup disk เราสามารถสร้างได้ Windows 98 จากนั้นเราทำ การใส่แผ่นไปที่ไดร์ฟ A: พร้อมเปิดเครื่อง ๆ จะทำการอ่านแผ่นแล้วเข้าไปที่ A:\ เราก็ทำการพิมพ์คำสั่ง Fdisk ลงไปจาก
นั้นทำการกดปุ่ม Enter เมื่อ Enter เข้าไปแล้วจะปรากฎดังรูป





- Primary DOS Partition เป็นพาร์ติชันหลักของฮาร์ดดิสก์
- Extended DOS Partition เป็นพาร์ติชันถัดไปของฮาร์ดดิวก์
- Logical DOS Drive(s) จะเป็นการกำหนดขนาดต่าง ๆ ที่อยู่ใน Extended DOS Partition อีกที ซึ่ง
สามารถกำหนดการสร้างได้หลาย ๆ Drive ตามต้องการ
- Non-DOS Partition เป็นพาร์ติขันในระบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ระบบของ DOS
ในการลบพาร์ทิชั่นนั้นเราต้องลบห้องในสุดก่อนแล้วไล่ลำดับกันจนถึงห้องใหญ่สุด ในความหมายก็คือ ก่อนอื่นเราต้องทำการลบจาก Logical DOS Drive ก่อนต่อมาลบที่ Extended Dos Partition และสุดท้ายทำการลบที่ Primary Dos Partition ตามลำดัีบจนหมด










แบบทดสอบ หน่วยที่ 5
1.ส่วนที่ใช้เก็บค่าการติดตั้งของ
BIOS จะเก็บใว้ในส่วนใด ?
ก. CD-ROM ข. CMOS RAM
ค. Flash Drive ง. DDR RAM
2.ขั้นตอน
การตรวจสอบระบบเมื่อเริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ?
ก. BIOS Setup ข. Start UP
ค. POST ง. Diagnostic
3.การเข้าสู่เมนู BIOS
Setup ส่วนใหญ่ใช้วิธีกดแป้นใดในขณะเปิดเครื่อง ?
ก. NumLock ข. Ctrl
ค. Esc ง. Del
4.โหมดการทำงานของช่องต่อขนานแบบใดใช้การติดต่อหน่วยความจำ
โดยตรง ?
ก. SPP ข. EPP
ค. Bi-Directional ง. ECP
5.รหัสผ่านประเภทใดของไบออส
ใช้สำหรับการเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ?
ก. User Password ข. Supervisor
Password
ค. Admin Password ง. ถูกทุกข้อ
6. รหัสผ่านประเภทใดของไบออส
ใช้สำหรับการเข้าเซตค่าในไบออสได้ ?
ก. User Password ข. Supervisor Password
ค. Admin Password
ง. ถูกทุกข้อ
7.ระบบปฏิบัติการแบบใดต้องแบ่งพาร์ติชันให้เรียบร้อยก่อนทำการติดตั้ง
?
ก. Windows ME ข. Windows XP
ค. Linux ง. ถูกทุกข้อ
8.ระบบโครงสร้างไฟล์แบบใดใช้รักษาความปลอดภัยข้อมูลที่ดี
ก. FAT ข. FAT 16
ค. FAT 32 ง. NTFS
9.ลอจิกคอลไดร์วสร้างในพาร์ติชันชนิดใดของฮาร์ดดิสก์
ก. Primary ข. Secondary
ค. Extend
ง. สร้างได้ทุกพาร์ติชัน
10. การแบ่งพาร์ติชันในฮาร์ดดิสก์
ใช้คำสั่งใด
ก. fdisk ข. Format
ค. fdisk C: ง. Format C:
11. การ Setup
BIOS เป็นขั้นตอนใดในการประกอบเครื่อง?
ก. เมื่อติดตั้งจอภาพเสร็จ ข.ขั้นตอนแรก
ค. ขั้นตอนหลังจากประกอบเครื่องเสร็จ ง. ขั้นตอนที่สาม
ก. เมื่อติดตั้งจอภาพเสร็จ ข.ขั้นตอนแรก
ค. ขั้นตอนหลังจากประกอบเครื่องเสร็จ ง. ขั้นตอนที่สาม
12. การประกอบฮาร์ดดิสก์หากเซ็ต
Jumper ไม่ถูกต้องจะมีอาการอย่างไร?
ก. มองไม่เห็นฮาร์ดดิสก์และไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ข. ฮาร์ดดิสก์สามารถทำงานในเครื่องได้ตามปกติ
ค. แสดงข้อผิดพลาดให้เซ็ต Jumper ใหม่ ง. ฮาร์ดดิสก์ทำงานปกติแต่มีอาการผิดพลาด
ก. มองไม่เห็นฮาร์ดดิสก์และไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ข. ฮาร์ดดิสก์สามารถทำงานในเครื่องได้ตามปกติ
ค. แสดงข้อผิดพลาดให้เซ็ต Jumper ใหม่ ง. ฮาร์ดดิสก์ทำงานปกติแต่มีอาการผิดพลาด
13. วงจรที่ใช้เป็นตัวควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างจานบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ไปยังจอภาพเราเรียกว่าอย่างไร?
ก. Disk Drive ข. CD-ROM
ค. D-ROM Drive ง. Disk Drive Controller
14. คำว่า Bios ย่อมาจากคำว่า
ก. Binary off tion
ข. Basic Input/Output System
ค. Boot setting configuration
ง.ไม่มีข้อถูก
15. ไบออส มีการส่วนการทำงานกี่ส่วน
ก.1 ส่วน
ข.2 ส่วน
ค.3 ส่วน
ง.4 ส่วน
ก. Disk Drive ข. CD-ROM
ค. D-ROM Drive ง. Disk Drive Controller
14. คำว่า Bios ย่อมาจากคำว่า
ก. Binary off tion
ข. Basic Input/Output System
ค. Boot setting configuration
ง.ไม่มีข้อถูก
15. ไบออส มีการส่วนการทำงานกี่ส่วน
ก.1 ส่วน
ข.2 ส่วน
ค.3 ส่วน
ง.4 ส่วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น