วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 2 ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง

หน่วยที่ 2 ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง

สาระสำคัญ

                ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย อุปกรณ์ต่างๆมากมาย เช่น กล่องแหล่งจ่ายไฟ แผ่นเมมบอร์ด ตัวขับแผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสและอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งอยู่บนเมมบอร์ด ได้แก่ ซีพียู แผงหน่วยความจำและการ์ดควบคุมต่างๆ โดยทุกส่วนเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานของเครื่อง จึงควรศึกษารายละเอียดและแยกความแตกต่างเพื่อให้สามารถเลือกซื้อและใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

เรื่องที่จะศึกษา

  •          ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง
  •          ส่วนประกอบต่างๆ บนแผ่นเมมบอร์ด
  •          ช่องต่อสายบนแผ่นเมมบอร์ด
  •          ช่องต่อด้านหลังของเครื่อง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.       สามารถบอกส่วนประกอบภายในตัวเครื่องได้ถูกต้อง
2.       สามารถบอกชื่อและให้รายละเอียดต่างๆของส่วนประกอบบนแผ่นเมมบอร์ดได้
3.       สามารถบอกรายละเอียดของช่องต่อต่างๆ บนแผ่นเมมบอร์ดได้
4.       สามารถบอกรายละเอียดของช่องต่อด้านหลังของเครื่องได้
5.       สร้างความสามัคคี และฝึกฝนการทำงานเป็นกลุ่ม





1       ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง 





       ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์หลักๆดังนี้




  •     กล่องแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
  •     แผ่นเมมบอร์ด (Mother Board)
  •      ตัวขับแผ่นดิสก์ (Floppy Disk Drive)
  •     ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
  •     ตัวขับแผ่นซีดี หรือ ดีวีดี (CD ROM & DVD ROM)

  
           1.1    กล่องแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)




แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX
พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง

1.2 แผงเมนบอร์ด (Mother Board) 


                     เมนบอร์ด (Mainboard) คือ ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น

          1. แบบ ATX
     เป็นเมนบอร์ดมาตรฐานใหม่ ซึ่งอินเทลเป็นผู้กำหนดขึ้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาว
     มากกว่าส่วนกว้าง แต่ขนาดเล็กกว่าแบบ AT เมนบอร์ดชนิดนี้ได้รับการออกแบบมาให้ซีพียูและ
     หน่วยความจำอยู่ใกล้กันซึ่งทำให้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีตลอดจน ซีพียูถูกวางอยู่ใกล้กับ
     พัดลมระบายความร้อน จึงระบายความร้อนได้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังได้กำหนดตำแหน่งและสีของ 
     ช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ไว้ต่างกัน เพื่อให้จำได้ง่ายและเป็นมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งสามารถที่จะ
     สั่งปิดเครื่องจากวินโดว์ได้โดยไม่ต้องกดปุ่มปิดเครื่องเองแต่เมนบอร์ดชนิดนี้ต้องใช้กับตัวเคส
     ชนิด ATX เหมือนกันเท่านั้น


        2.  แบบ Micro ATX
              มีลักษณะรูปร่างทั่วไปจะเหมือนกับเมนบอร์ดแบบATX ลักษณะของบอร์ดเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ได้ลดจำนวนสล็อตลงเหลืเพียง 3-4สล็อตเพื่อให้ราคาจำหน่ายถูกลงแหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการเสียบการ์ด เพื่อเติมต่างๆบน
         สล็อตมากนัก แผ่นเมมบอร์ดบางแผ่นอาจไม่มีช่องเสียบ AGP มาให้ เพราะส่วนใหญ่เมนบอร์ดแบบนี้ มักรวมอยู่ในภาคแสดงผล, ภาคเสียง และวงจรการเชื่อมต่อเครือข่าย ไว้ภายในแผ่นเมมบอร์ดเพื่อประหยัดราคาและพื้นที่


       3.    แบบ Flex ATX
                     เป็นเมนบอร์ดแบบATX ที่มีขนาดเล็กที่สุด ใช้ประกอบกับเครื่องขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ เมนบอร์ดชนิดนี้มักมีอุปกรณ์ Onboard เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียงและการ์ดโมเด็มมาด้วยแล้วจึงมีสล็อตติดตั้งบนเมนบอร์ดเพียง 2 สล๊อตเท่านั้น มักใช้ตามสำนักงานทั่วไป 






ส่วนประกอบหลักของเมนบอร์ด จะประกอบด้วย

1.    ไอซี ROM BIOS ซึ่งใช้กำหนดการทำงานพื้นฐานของเครื่อง

2.    ชิปเซตซึ่งเป็นซิปไอที ตัวใหญ่ ควบคุมการทำงานอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่อง

3.    ช่องเสียบ ซิปซีพียู ( CPU Socket ) ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามซีพียูที่ใช้

4.    ช่องเสียบแผงหน่วยความจำRAM

5.    ช่องเสียบขยาย(Expansion Slot) สำหรับเสียบแผ่นการ์ดต่างๆ

6.    ช่องเสียบสายแพควบคุมฮาร์ดดิสและดิสก์ไดร์ฟ

1.3 ตัวขับแผ่นดิสก์(Floppy Disk Drive)
 

มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กติดตั้งบริเวณด้านหน้าของเครื่องโดยจะมีช่องสำหรับเสียบแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว




1.4 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
 
     ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของ เครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็น ชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆ ที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่ เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว

1.5 ตัวขับแผ่นซีดี หรือ ดีวีดี (CD ROM/DVD ROM)
      มีลักษณะเป็นกล่องสี่เกลี่ยมขนาดใหญ่ ติดตั้งบริเวณด้านหน้าของเครื่อง โดยจะมีถามดหรือช่องสำหรับใส่ซีดี หรือแผ่นดีวีดี



2. ส่วนประกอบต่างๆ บนแผ่นเมนบอร์ด


2.1 ซีพียู (CPU:Central Processing Unit)

            CPU หรือ Central Processing Unit คือหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จึงขาดซีพียูไม่ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ ซีพียูมีหลายแบบและมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามรุ่นที่ผลิตโดยอาจแบ่งตามบริษัทผู้ผลิตได้ดังนี้


1. ซีพียู ของ อินเทล (Intel) 



 
บริษัทอินเทล จัดได้ว่าเป็นบริษัทแรกที่ผลิตซีพียูในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถือว่าเป็นผู้นำและได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ซีพียูของอินเทลมีหลายรูปแบบ แต่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆคือ


       เพนเทียม 


                อินเทลได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ใหม่ภายใต้ชื่อ "เพนเทียม" โดยได้พัฒนาโดยใช้สถาปัตยกรรมไมโครอินเทล P5 พัฒนาต่อเนื่องจาก อินเทล 80486 โดย เพนเทียม และ เพนเทียม MMX ได้มีการใช้งานในช่วงปี 2536-2542 โดยรุ่นแรกมีความเร็ว 60 MHz หรือเท่ากับ 100 mips โดยมีทรานซิสเตอร์ 3.21 ล้านชิ้น และทำงานกับแอดเดรส 32 บิต (เหมือนกับ 486) โดยมีบัส 64 บิตทำให้ทำงานได้เร็วกว่ารุ่นก่อนหน้าสองเท่าตัว รุ่นแรกใช้งานบนซ็อกเก็ต 4 และบางตัวใช้งานบนซ็อกเก็ต 5 ได้
 
    เซอรีรอน

ป็นซีพียูที่มีความสามารถรองลงมา ใช้ในการประมวลผลทั่วไปที่ไม่ต้องการความสามารถพิเศษเพิ่มเติม เช่น งานในสำนักงาน และการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป

สำหรับรูปแบบตัวถังจะมีการออกแบบแตกต่างกันไป ดังนี้คือ

-         Socket7 จะใช้ในซีพียูรุ่นแรกๆ ของอินเทล คือ Pentium, Pentium MMX

-         Slot 1 ใช้ในซีพียู Pentium II และ Pentium III รุ่นแรกๆ

-         Socket 370 .ช้ในซีพียู Pentium III และ Celeron รุ่นต่อมาที่มีความเร็วไม่เกิน 1.3 GHz
-         Socket 423 ใช้ในซีพียู Pentium 4 รุ่นแรกๆ
-         Socket 478 ใช้กับซีพียู Pentium 4 รุ่นต่อมา
-         Socket 775 (Socket T ) ใช้กับซีพียู Pentium 4 รุ่นใหม่
2) ซีพียู ของ เอเอ็มดี  ( AMD : Advance Micro Device ) 

 
         บริษัทเอเอ็มดี เป็นบริษัทผลิตซีพียูอีกบริษัทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและเป็นคู่แข่งกับบริษัทอินเทล โดยบริษัทเอเอ็มดีมีจุดเด่น ในด้านราคาที่ต่ำกว่า แต่มีสมรรถนะเทียบเคียงกับ บริษัทอินเทล
         แอลรอน ( Athlon ) เป็นซีพียูความสามารถสูง เพื่อมาแข่งขันกับ Pentium และ ดูรอน (Duron) ซึ่งมีความสามารถรองลงมา เพื่อมาแข่งขันกับ Celeron ซึ่งปัจจุบัน ได้ผลิตรุ่นใหม่โดยใช้ชื่อเป็น เซมปลอน (Sempron)



 


 









3) ซีพียู ของ เวีย ( VIA)  และ ไซริกส์ (Cyrix)



 
              เวีย (VIA)ของบริษัทเวีย (VIA)  ซึ่งได้เข้าครอบครองกิจการของบริษัทไซริกซ์ (Cyrix)   ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตซีพียูรายเก่าไอบีเอ็ม นิยมในหมู่ผู้ใช้ในต่างประเทศ    มักขายพร้อมกับเครื่องแบรนด์เนม

2.2 หน่วยความจำ ROM (ROM Bios)

                    รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้ว


2.3 หน่วยความจำ RAM 


                        แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึง (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วเท่าๆ กัน ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว

ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

ปัจจุบันมี 3 แบบ คือ


    SDRAM



                            ถูกใช้ในคอมพิวเตอร์รุ่นเดิมที่ใช้ซีพียูไม่เกิน 1.3 GHz โดยมีรุ่น PC-66 ซึ่งรองรับความเร็วไม่เกิน 66 MHz รุ่น PC-100 ซึ่งรองรับความเร็วการทำงานไม่เกิน 100 MHz และรุ่น PC-133 ซึ่งรองรับความเร็วไม่เกิน 133 MHz จะสังเกตุว่า SDRAM มีร่องบาก 2 ร่อง



   DDR SDRAM (DDR RAM)



                       ใช้ในเครื่องรุ่นใหม่โดยพัฒนาจาก SDRAM เดิมโดยให้มีการทำงานเป็น 2 เท่า โดยให้ทำงาทั้งขอบขาขึ้นและขอบขาลงของสัญญาณนาฬิกา จึงมีความเร็วขั้นต่ำถึง 266 MHz เรียกว่า DDR-266 และพัฒนาต่อมาเป็น DDR-333 จนถึง DDR-400 ที่รองรับความเร็วในการทำงานถึง 400 MHz จะสังเกต่า DDR RAM จะมีร่องบากเพียงร่องเดียว ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็น DDR2 ที่รองรับความเร็วได้สูงสุดถึง 533 MHz และ 667 MHz
  


       RD RAM 

                   RD RAM (RAM BUS) เป็นหน่วยความจำที่ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สามารถรองรับความเร็วสูงสุดถึง 800 MHz โดยครั้งแรกตั้งใจจะนำมาทดแทน SDRAM แต่เนื่องจากราคาค่อนข้างสูงและมีปัญหาด้านความร้อนจึงไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร



2.4 ซิปเซ็ต (Chip Set)


                   ซิปเซ็ตเป็นส่วนประกอบหลักของเมนบอร์ด โดยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ บนแผ่นเมนบอร์ด โดยลักษณะเป็นซิปไอซีขนาดใหญ่ ปกติจะมี 2 ตัวหลักคือ North Bridge และ South Bridge 



 

                                 ชิปเซต North Bridge เป็นชิปเซตที่มีความสำคัญที่สุด ทำหน้าที่ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของซีพียู(CPU)และแรม(RAM) ตลอดจนสล็อต PCI Express x16 ของการ์ดจอ  ซึ่งทำงานด้วยความเร็วสูง ปกติชิปเซต  North Bridge จะถูกปิดด้วยแผงระบายความร้อนหรือบางตัวมีการ์ดจออยู่ภายในก็อาจจะต้องติดตั้งพัดลมเพิ่ม

ปัจจุบันชิปเซตตัวนี้ถูกลดบทบาทลงเนื่องจากซีพียู(CPU)มีวงจรควบคุมแรม(RAM)ในตัว ผู้ผลิตชิปเซตจึงเลือกออกแบบเป็นแบบ Single chip คือ รวมวงจรบัส PCI Express ตลอดจน ชิปเซต South Bridge เข้าไว้เป็นตัวเดียวกัน

ชิปเซต South Bridge ชิปเซตตัวนี้จะมีขนาดเล็กกว่า Nouth Bridge ทำหน้าที่ควบคุมสล็อตของการ์ดจออื่นๆ ควบคุมกิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด หากต้องการจะรู้ว่าคอมพิวเตอร์ของเราสามารถต่อกับอุปกรณ์ใดได้บ้าง ให้สังเกตที่สเปคของชิปเซต South Bridge


2.5 ช่องเสียบการ์ด (Expansion Slot) 

ช่องเสียบการ์ดหรือสล็อต (Slot) บนแผ่นในบอร์ด จะใช้เป็นส่วนในการขยายการใช้งานโดยจะแบ่งได้ ดังนี้

     1. เสียบแบบ ISA
                           จะมีลักษณะดผ็นช่องดำยาว มีการส่งผ่านข้อมูลครั้งละ 16 บิตที่ความเร็วเพียง 8 MHz ปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้พบเห็น ที่ยังคงเห็นอยู่คือใช้กับการ์ดเสียงรุ่นเก่าๆ ที่มีขั้วเสียบบอร์ดเสริม  Wave Table เพื่อรองรับหารผลิตเสียง Midi ในโปรแกรมคาราโอเกะ 

2.  ช่องเสียบแบบ PCI
                           สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ด SCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน
เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ
VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์
แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ
Plug and Play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า อุปกรณ์บางอย่างเช่น การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น
อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
PCI Bus ซึ่งก็หมายถึง เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต

3.ช่องเสียบแบบ AGP
                          เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู
เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ
PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพี หรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่ จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X 8X และล่าสุด
16
X และ Express Card ซึ่งเร็วกว่า AGP Slot มาก ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น


2.6 การ์ดแสดงผล (VFA Card)

                         การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล

     การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก

     ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ

     เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมีการต่อสายเชื่อมถึงกัน เช่น การ์ด Voodoo ของบริษัท 3dfx ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสามมิติมีความสามารถเกี่ยวกับการแสดงผลสองมิติในตัว


2.7 การ์ดเสียง (Sound Card)


                       การ์ดเสียง หรือ ซาวน์การ์ด (sound card) คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า

                       เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ จำเป็นที่สำคัญของระบบ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน น้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน ความชัดเจน ของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความ ละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณ ค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูก กำหนด โดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น - A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย


2.8 การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC )


                                                โดยทั่วไปมักเรียกว่า การ์ดแลน (LAN Card) ใช้สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบความเร็ว 10/100 Mbps ที่รับรองมาตรฐาน IEEE 802.3d แต่ปัจจุบันได้มีการผลิตการ์ดเครือข่ายแบบกิกะบิต (Giga bit Lan Card) และแบบไร้สาย (Wireless Lan Card) ออกมาจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ 


2.9 การ์ดโมเด็ม (Modem Card)



                                               ส่วนใหญ่มักเป็นแบบ PCI และ รองรับการใช้งานกับระบบมาตรฐานทั่วไปที่ใช้กับระบบโทรศัพทฺปกติ ตือ มาตรฐานสื่อสาร V.90 และ V.92 ส่วนใหญ่มักใช้สำหรับการเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ชิปที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นชิปของ Rockwell, Motorola และ Ambient




3. ช่องต่อสายบนแผ่นเมนบอร์ด



                         นอกจากช่องเสียบ ซีพียู (CPU Socket) ช่องเสียบแผงหน่วยความจำ (Memory Slot) และช่องเสียบการ์ด (Slot) แล้ว บนแผงเมนบอร์ดยังมีช่องต่อสายต่างๆอีกดังนี้คือ 


     1) ช่องต่อไฟเลี้ยง (ATX Power Connector) ใช้ต่อสายไฟเลี้ยงจากกล่อง Power Supply เพื่อมาเลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆ บนแผ่นเมมบอร์ด สำหรับเมมบอร์ดที่ใช้กับซีพียูเพนเทียม 4 จะมีช่องเสียบไฟเลี้ยง 12 โวลต์ เพิ่มขึ้นมา ดังรูป เพื่อช่วยในการจ่ายกระแสไฟให้กับซีพียู 


        2) ขั้วต่อสายแพสำหรับสำหรับอุปกรณ์ IDE – ใช้สำหรับต่อสายควบคุมฮาร์ดดิสและซีดีรอมแบบ IDE ซึ่งจะมีสองช่อง ใช้ต่อกับฮาร์ดดิสเพื่อการรับส่งข้อมูลความเร็วสสูง 


        3) ขั้วต่อสายแพฟล๊อบปี้ดิสก์ (FDD Connector) – ใช้ต่อกับตัวขับแผ่นดิสก์ เพื่อการควบคุมการทำงานและการส่งข้อมูลจากตัวอ่านแผ่นดิสก์ ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่าช่องต่อสายแบบ IDE 


        4) ช่องต่อ Serial ATA – จะมีบนแผ่นเมนบอร์ดที่รองรับการใช้งานฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่แบบ Series ATA ซึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 150 MB ต่อวินาทีทั่วไปจะมีช่องต่อ 2 ช่อง


        5) ช่องต่อ USB – ใช้ต่อกับสายต่อของตัวถังเครื่อง Case ที่ทำช่องต่อ USB ทางด้านตัวเครื่องเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ในการเสียบอุปกรณ์ USB ต่างๆ


         6) ช่องต่อสาย Audio CD – จะมีบนแผ่นเมนบอร์ดที่มีวงจรภาคเสียงบนแผ่น (Sound On Board) เพื่อเสียบสายสัญญาณเสียงจาก ซีดีรอม


         7) ช่องใส่แบตเตอรี่แบบกระดุม – ใช้ใส่แบตเตอรี่แบบกระดุมรุ่น CR-2032 สำหรับรักษาข้อมูลในการตั้งค่าไบออส (BIOS Setup) โดยจะใช้เป็นไฟเลี้ยงในส่วนของไอซี CMOS ที่เก็บข้อมูลตั้งค่าของไบออส


         8)หัวต่อสายสัญญาณ (System Panel Connector) – มีลักษณะเป็นหลักสำหรับเสียบสายสัญญาณต่างๆ เข้ากับตัวถังเครื่อง


         9) จัมเปอร์ (Jumper) – จะเป็นหลักสำหรับเสียบตัว Jump สาย เพื่อกำหนดการทำงานบางอย่าง ปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เพียงการล้างข้อมูลการติดตั้งของ CMOS เท่านั้น



4. ช่องต่อด้านหลังของเครื่อง



        1) ช่องต่อแป้นพิมพ์ ใช้สำหรับเสียบแป้นพิมพ์แบบ PS/2 


        2) ช่องต่อเมาส์ ใช้สำหรับเสียบแป้นพิมพ์แบบ PS/2


        3) ช่องต่อแบบขนาน เป็นช่องต่อรับ-ส่งข้อมูลแบบขนาน โดยข้อมูลจะถูกส่งพร้อมๆกันหลายบิตใช้ต่อกับอุปกรณ์รับส่งข้อมูลแบบขนาน


        4) ช่องต่อแบบอนุกรม ใช้ต่อกับอุปกรณ์ที่รับส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือ ส่งทีละบิตเรียงกัน โดยความเร็วในการส่งจะไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์สื่อสาร 


        5) ช่องต่อ USB (USB Port) เป็นช่องต่อแบบใหม่ที่ใช้พื้นที่น้อย โดยจะรับส่งข้อมูลแบบอนุกรมที่ความเร็วสูง ใช้กับอุปกรณ์รุ่นใหม่แบบ USB ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนภาพ ฯลฯ 


        6) ช่องต่อจอภาพ (VGA Port) จะมีในเมนบอร์ดแบบรวมภาคแสดงผลไว้บนบอร์ด


        7) ช่องต่อเสียง (Sound Port) มีในเมนบอร์ดที่รวมวงจรภาคเสียงไว้ภายใน โดยจะมีช่องสำหรับเสียบลำโพง, เสียบไมค์ แบะเสียบสัญญาณเสียงอื่นๆ 


        8) ช่องต่อสายแลน (Lan Port) ใช้สำหรับต่อสายแลนที่ใช้หัวต่อแบบ RJ-45 เพื่อเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย










1. ไดร์ฟที่สามารถ อ่านแผ่น DVD และ เขียนแผ่น CD ได้ เรียกว่า ?

ก. Combo Drive                         ข. DVD Drive

ค. CD Writer                              ง. DVD Writer


2. หน่วยความจำ RAM ชนิดใดมีความเร็วสูงที่สุด ?

ก. EDO RAM                     ข. SDRAM

ค. DDR                             ง. DDR2


3. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่อยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ?

ก. Hard Disk                       ข. Main board

ค. Flash Drive                     ง. Power Supply


4. แหล่งจ่ายไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เป็นแบบ ?

ก. AT                                   ข. ATX

ค. UPS                                 ง. From Factor


5.  แผ่นเมนบอร์ดแบบใดมีขนาดเล็กที่สุด ?

ก. ATX                                 ข. Baby ATX

ค. Micro ATX                        ง. Flex ATX


6. ช่องเสียบ (Slot) แบบใดเป็นช่องเสียบที่มีความเร็วสูงสุด ?

ก. PCI                                   ข. ISA

ค. AGP                                  ง. ATI


7.ซีพียู Pentium 4 รุ่นใหม่ จะใช้ช่องเสียบ (Socket) แบบใด ?

ก. Socket 478                         ข.Socket 775

ค. Socket 370                         ง. Slot I 



8. ซีพียู AMD รุ่นใดมีสมรรถนะสูงสุด ?

ก. K7                                     ข. Duron

ค. Sempron                            ง. Athlon



9. ซีพียูของบริษัท VIA จะใช้ช่องเสียบ (Socket) แบบใด ?

 ก. Socket478                      ข. Socket 775

ค. Socket 370                      ง. Slot I



10. ชิปเซตที่ใช้ในการติดต่ออุปกรณ์ความเร็ซสูง เรียกว่า ?

ก. North Bridge                         ข. South Bridge

ค. Middle                                  ง. Ware  AGP
 

11.ฮาร์ดดิสก์ ที่นิยมใช้กันในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปเป็นแบบใด?

ก. SCSI                      ข.SATA

ค.IDE                         ค. ไม่มีข้อถูก

12. หน่วยความจำ RAM ทำหน้าที่อะไร ?

ก. กำหนดการทำงานพื้นฐานของเครื่อง  

ข.รับโปรแกรมที่อ่านจากฮาร์ดดิสก์มาเก็บไว้ 

ค.แปลงสัญญาณภาพ  

ง.เชื่อมต่อระบบเครือข่าย

13. Pentium รุ่นแรกของอินเทล ใช้ช่องเสียบ Socket แบบใด?

ก. Socket 7                  ข. Socke 370
ค. Socket423               ง. Socket478

  
14. บริษัทแรกที่ผลิตซีพียู ในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี คือบริษัท ?

ก. AMD                       ข. Intel

ค. VIA                         ง. Cyrix

15. RD RAM สามารถรองรับความเร็วสูงสุดถึงเท่าไร ?

ก. 667 MHz                   ข. 533 MHz

ค. 133 MHz                   ง. 800 MHz