วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 1 พื้นฐานคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

สาระสำคัญ

          ก่อนการใช้งานหรือประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ควรทราบพื้นฐานด้านต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งรู้จักอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเห็นภาพรวมของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานในการวิเคราะห์ปัญหาและการเลือกซื้ออุปกรณ์ให้เหมาะสมต่อไป


เรื่องที่จะศึกษา 


  • องค์ประกอบในการใช้งานคอมพิวเตอร์
  • อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


จุดประสงค์การเรียนรู้


  1. อธิบายองค์ประกอบในการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้
  2. อธิบายรายละเอียดขององค์ประกอบต่างๆได้
  3. อธิบายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ขั้นพื้นฐานได้
  4. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆได้
1. องค์ประกอบในการใช้งานคอมพิวเตอร์
         การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ 
  1.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น     เมาส์, แป้นพิมพ์, จอภาพ, เครื่องพิมพ์, เครื่องสแกนภาพ ฯลฯ

   2.   ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมต่างๆ ที่ใช้้้้้สั่งงานคอมพิวเตอร์ ซอร์ฟแร์อาจแบ่งออก          เป็น 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์จัดระบบ และ ซอฟต์แวร์ใช้งาน

  • ซอฟ์แวร์จัดระบบ (System Software) หรือที่เรียกกันทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งคือ ระบบปฏิบัติการ (Operating Software) ได้แก่ ซอร์ฟแวร์ที่ทำหน้าที่ จัดระบบการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ และเป็นฐานให้โปรแกรมอื่นๆ มาทำงาน รวมไปถึงการจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการใช้งาน ซอร์ฟแวร์จัดระบบที่รู้จักกันดีได้แก่ ระบบปฏิบัติการ ไมโครซอร์ฟวินโดวส์ ซึ่งมีรุ่นต่างๆดังนี้
        Windows 95 เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งพัฒนามาทดแทนระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า คือ ระบบปฏิบัติการดอส และวินโดวส์ 3.11 อาจกล่าวได้ว่า วินโดวส์ 95 เป็นต้นแบบของระบบปฏิบัติการวินโดวส์รุ่นต่อๆมา ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ให้มีลักษณะหน้าจอภาพเหมือนโต้ะทำงาน การเพิ่มความสามารถในการรับรู้เพิ่มอุปกรณ์ใหม่เข้าไปในระบบ หรือ ระบบ ปลั๊กแอนด์เพลย์ (Plug and Play) เพื่อช่วยลดความยุ่งยากในการเพิ่มเติมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ รวมทั้งการเพิ่มโปรแกรมในส่วนความบันเทิงต่างๆ 
       Windows 98 เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากวินโดวส์ 95 โดยพัฒนาด้านเสถียรภาพการทำงานและ การพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยมีโปรแกรมดูเว็บ (Web Browser) คือ Internet Explorer (IE) เพิ่มเติมเข้ามาในเวอร์ชั่นนี้
       Windows ME เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาและจัดจำหน่ายในปีคศ.2000 โดยปรับปรุงต่อปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนต่างๆ ของวินโดวส์98 และเพิ่มสีสรรความสวยงาน รวมทั้งรองรับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ เช่น USB Flash Drive ได้โดยไม่ต้องลงไดร์เวอร์


       Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับ การใช้งานในระบบเครือข่ายโดยมีทั้งแบบที่ใช้กับเครื่องลูกข่าย คือ Windows NT Workstation และ แบบที่ใช้กับเครื่องแม่ข่ายคือ Windows NT Server
       Windows 2000  เป็นระบบปฏิบัติที่ใช้งานกับระบบเครือข่ายเช่นเดียวกับ Windows NT เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียกเสียใหม่ เพราะถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.2000 ซึ่งถือว่าเป็นปีทศวรรศใหม่ โดยมีทั้งรุ่นที่ใช้กับเครื่องลูกข่าย และรุ่นที่ใช้กับเครื่องแม่ข่าย เช่นกัน
       Windows XP  เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ที่ออกแบบใหม่ เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยพัฒนาคงามสามารถและเสถียรภาพให้สูงขึ้นและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งโปรแกรมหรือฮาร์ดแวร์ผิดวิธี โดยสามารถคืนระบบกลับคืนสู่จุดเดิมได้และในเวอร์ชั่นนี้ได้เปลี่ยน การใช้ชื่อในการจำหน่ายใหม่ โดยใช้ชื่อเดียวกันทั้งระบบปฏิบัติการตามบ้านและระบบปฏบิติกรเครือข่าย โดยแบ่งเป็นเวอร์ชั่นต่างๆ ดังนี้คือ Windows XP Home Edition จะใช้เป็นระบบปฏิบัติการตามบ้านเรือน Windows XP Professional  เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในระบบเครือข่าย Windows XP Enterprise  เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่โดยแต่ละเวอร์ชั่นจะมีราคาที่แตกต่างกัน
       นอกจากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของบริษัทไมโครซอร์ฟแล้ว ก็ยังมีระบบปฏบิติการตัวอื่น คือ UNIX, Linux และ OS/2 แต่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในบ้านเรา

  • ซอร์ฟแวร์ใช้งาน (Application Software) ได้แก่โปรแกรมต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์การใช้งานต่างๆ แตกต่างกันไป โดยอาจแบ่งออกเป็น 9 ประเภทดังนี้
   1.  ซอร์ฟแวร์ชุดสำนักงาน(Office Software) คือ ซอร์ฟแวร์ที่ใช้ทำงานตามสำนักงานต่างๆ ส่วนใหญ่จะผลิตจำหน่ายในลักษณะเป็น ชุดโปรแกรม (Package Software) ที่ใช้งานแพร่หลายทั่วไป ได้แก่ ซอร์ฟแวร์ชุดไมโครซอร์ฟออฟฟิต (Microsoft Office) ซึ่งประกอบด้วยซอร์ฟแวร์หลักในการทำงาน 4 ตัว คือ Microsoft Word สำหรับพิมพ์งานเอกสารต่างๆในสำนักงาน Microsoft Excel สำหรับการคำนวณค่า การสร้างกราฟ และการวิเคราะห์ข้อมูล Microsoft Powerpoint ที่ใช้ในงานนำเสนอต่างๆ และ Microsoft Access ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล นอกจากซอร์ฟแวร์ชุด ไมโครซอฟต์ออฟฟิต แล้วก็ยังมี ชุดออฟฟิตปลาดาว (Padao Office) ออฟฟิตทะเล (Talae Office) และสตาร์ออฟฟิต (Microsoft Office) ซึ่งเป็น ซอร์ฟแวร์ที่ปนุญาติให้ใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านลิขสิทธิ์โปรแกรม



   2.  ซอฟต์แวร์กราฟิค (Graphic Softwareeeee) ได้แก่ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างภาพ ตกแต่งภาพ เช่น Corel Draw, Free Hand, I11ustrator, Adobe Photoshop, Macromedia Flash เป็นต้น 
  
  3. ซอฟต์แวร์อินเตอร์เน็ต (Internet Software) ได้แก่ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานกับระบบอินเตอร์เน็ต เช่นซอฟต์แวร์ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บ (Web Brower) เช่น Internet Explorer หรือที่เรียกย่อๆ ว่า IE, Netscape Navigator, Opera, Masaic โปรแกรมจัดการอีเมลล์เช่น Outlook Express, Eudora โปรแกรมสนทนาแบบออนไลน์  เช่น  MSN, Yahoo Messenger, ICQ, QQ เป็นต้น
  
  4. ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility) ได้แก่ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ (Tool) ให้ความช่วยเหลือในการใช้งาน และ การปรับแต่งต่างๆ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส เช่น Norton Anti  Virus, Mcafee Anti Virus โปรแกรมจัดการแบ่งพาร์ติชั่นของฮาร์ดดิสก์ เช่น Partition Magic โปรแกรมบีบอัดข้อมูล เช่น Winzip, WinRaR เป็นต้น

  5. ซอฟต์แวร์มัลติมีเดีย (Multimedia Software) ได้แก่ซอฟต์แวร์ที่ช่วยสร้างความบันเทิงต่างๆ เช่น โปรแกรม Power DVD ที่ใช้ดูภาพยนตร์ จากแผ่นหนัง และไฟล์ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โปรแกรม Win Amp ที่ใช้ในการฟังเพลงจากไฟล์ Audio หรือ mp3 และไฟล์ที่ใช้ในการบันทึกเสียง ปรับเสียง เป็นต้น

  
  6. ซอฟต์แวร์ในงานช่วยออกแบบ (CAD: Computer Aid Design) เช่น โปรแกรม Auto CAD ซึ่งใช้ในการออกแบบและคำนวฯค่าในงานก่อสร้างและงานเครื่องมือกล, ฌปรแกรม ORCAD และ Protel ซึ่งใช้ในการออกแบบวงจรไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์, โปรแกรม VISIO ซึ่งใช้ช่วยในการเขียนแบบงานต่างๆ 
เป็นต้น

  7. ซอฟต์แวร์ในงานสร้างสื่อการสอน (CAI:Computer Aid Instruction) คือ ซอฟต์แวร์ ที่ใช้ช่วยใน การสร้างสื่อการสอนหรือ แบบเรียนทางคอมพิวเตอร์ เช่น Author  Ware รวมไปถึง ซอฟต์แวร์ช่วยใน
การสร้างสื่อผ่านเว็บไซต์

  8. ซอฟต์แวร์เกมส์ (Games) ได้แก่ โปรแกรมเกมส์ต่างๆ ที่สร้างความบันเทิง ทั้งเกมส์ที่เล่นเครื่องเดียว หรือ เล่นพร้อมกันหลายเครื่องเป็นเครือข่าย รวมไปถึงเกมส์อินเตอร์เน็ต

  9. ซอฟต์แวร์ภาษา (Computer Language) คือ ซอฟต์แวร์ ที่ใช้เขียนโปรแกรม เพื่อ พัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ใช้งาน เช่น Turbo BASIC, Turbo Pascal, Turbo C, Visual BASIC, Delphi และ Visual C เป็นต้น

  • พีเพิลแวร์ (Peopleware) ได้แก่ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ต่างๆ ในงานคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst) นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ผู้ทดสอบโปรแกรม (Debugger) รวมไปถึงผู้ใช้งาน (User)

         องค์ประกอบทั้ง 3 สิ่งนี้ ถือว่าเป็นหัวใจในการใช้งานคอมพิวเตอร์ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะทำให้ไม่สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ และปัญหาต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็เกิดจะากองค์ประกอบทัั้ง 3 องค์ประกอบนี้ การแก้ปัญหาจึงต้องวิเคราะห์ว่าเกิดจากองค์ประกอบใดเพื่อจะได้แก้ไขได้อย่างถูกวิธี

2. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
       
       การใช้งานคอมพิวเตอร์ขั้นต้น จะต้องประกอบด้วยฮาร์ดแวร์พื้นฐาน 4 อย่าง ตัวเครื่อง 
( System Unit ) , จอภาพ ( Moniter ) , แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse )


      การใช้งานจะใช้แป้นพิมพ์ เป็นตัวป้อนข้อมูล และใช้เมาส์ในการเลือกและสั่งงาน โดยตัวเครื่อง จะทำหน้าที่คำนวณค่าและตัดสินใจ จากนั้นจะส่งผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพ อุปกรณ์พื้นฐานดังกล่าว ยังมีให้เลือกหลายแบบดังนี้
       2.1 แป้นพิมพ์ (Keyboard)

                                   



            มีทั้งแป้นพิมพ์ขนาดเล็ก (Mini Slim) ซึ่งมีขนาดกะทัดรัด และแป้นพิมพ์มาตรฐานนอกจากนี้ยังมีแบบมัลติมีเดียซึ่งเพิ่มแป้นในส่วนการใช้งานด้านมัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ต อีกทั้งยังพัฒนาแป้นแบบไร้สาย
(Infrared Keyboard) เพื่อคววามสะดวกในการใช้งาน ราคาของแป้นพิมพ์จะแตกต่างกันตามการออกแบบและวัสดุที่ใช้ทำ นอกจากนี้การเลือกซื้อควรพิจารณารูปแบบหัวต่อในการใช้งานด้วย ซึ่งจะมีทั้งหัวต่อกลมแบบ PS/2 และแบบ USB ที่มีลักษณะแบน


2.2. เมาส์ (Mouse)

แบบมาตรฐานจะมีปุ่มกด 2 ปุ่ม ทางด้านซ้านและด้านขวา แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มล้อหมุนเข้าไปตรงส่วนกลางเพื่อสะดวกต่อการเลื่อนดูข้อมูลโดยเฉพาะการดูข้อมูลในเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตเรียกว่า สกอร์เมาส์ (Scroll Mouse) นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาการเคลื่อนเมาส์เป็นแบบใช้แสงแทนลูกกลิ้ง หรือ ออปติคอลเมาส์ (Optical Mouse) นอกจากนี้ยังมีเมาส์แบบไร้สาย (Infrared Mouse) เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานและลดปัญหาสายขาดใน แต่ราคาค่อนข้างแพงและต้องใส่แบตเตอรี่ทำให้มีขนาดใหญ่จึงยังไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก สำหรับลักษณะของหัวต่อจะมีทั้งแบบ PS/2 และแบบ USB เช่นเดียวกับแป้นพิมพ์


                            


2.3 จอภาพ ( Monitor )

ปัจจุบันมีให้เลือก 2 แบบ คือ แบบจอแก้วหรือแบบ ซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) ซึ่งเป็นแบบเดิมและแบบจอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งใช้การแสดงผลด้วยผลึกเหลวแทนการใช้หลอดภาพ ทำให้ดูได้สบายตาและกินไฟน้อยกว่า 

                                                  https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS6f1PYqdiaFGvVI5bD8BJyIiT-2MKVrFXt-H-VLiOMFs0nq34a9g



การเลือกซื้อจอภาพแบบซีอาร์ที จะพิจารณาถึงขนาดของจอภาพ ซึ่งในปัจจุบันจะมีขนาดถึง 15 นิ้วขึ้นไป  แต่ถ้ามีพื้นที่ในการวางควรใช้ขนาด 17 นิ้ว ซึ่งจะให้การแสดงผลที่ชัดเจนกว่าและราคาก็ไม่ต่างกับจอภาพ 15 นิ้วมากนัก นอกจากนี้ลักษณะของหน้าจอ จะมีทั้งแบบจอโค้งซึ่งราคาประหยัดและแบบจอแบน ซึ่งให้ภาพที่ชัดเจนกว่า

สำหรับจอภาพแบบแอลซีดีควรเลือกลายละเอียดในการแสดงผลให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น จะใช้ขนาด 800*600 หรือ 1024*768 เพราะจอภาพประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีขนาดการแสดงผลแบบตายตัว



2.4 เครื่องพิมพ์ (Printer)

เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ทางเอาท์พุต เช่นเดียวกับจอภาพ แต่พิมพ์ผลลัพธ์ออกมาทางกระดาษเอกสารเพื่อใช้เป็นหลักฐานไว้อ้างอิงในภายหลังได้ เครื่องพิมพ์ที่ใช้กันส่วนใหญ่มี 3 ประเภท ดังนี้



1 . เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ทำงานโดยใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใด ๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้น ๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่น ๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลง กระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะ สมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร




2. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่นหมึกมาก






3. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet Printer)

เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (อังกฤษ: Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้ อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์





                                                       

2.5 พล๊อตเตอร์ (Plotter)

ใช้วาดหรือเขียนภาพสำหรับงานที่ต้องการความ ละเอียดสูง ๆ เนื่องจากพลอตเตอร์จะใช้ปากกาในการวาดเส้นสายต่าง ๆ ทำให้ได้เส้นที่ต่อเนื่องกันตลอด ในขณะที่เครื่องพิมพ์ทั่วไปจะใช้วิธีพิมพ์จุดเล็ก ๆ ประกอบขึ้นเป็นเส้น ทำให้ได้เส้นที่ไม่ต่อเนื่องกันสนิท พลอตเตอร์นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่ต้องการความสวย งามและความละเอียดสูง มีให้เลือกหลากหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจำนวนปากกาที่ใช้เขียนในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดามาก





                                                  

2.6 เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
                                      

เครื่องสแกน คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้

2.7 กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
                                            
       กล้องดิจิตอล (Digital Camera) คือ กล้องถ่ายรูปที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ภาพที่ถ่ายได้จะถูกบันทึกแบบดิจิตอลโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในกล้อง โดยอยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพซึ่งสามารถส่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ออก มาเป็นภาพ สามารถตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมต่างๆ เช่น Photoshop ส่งผ่านอินเทอร์เน็ต ทำเว็บ หรือนำไปใช้งานในลักษณะอื่นๆ ต่อไป





2.8 โมเด็ม (Modem)
                                     

เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ 
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

2.9 เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)

                                            
UPS (Un-interruptible Power Supply) คือ เครื่องสำรองไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติในกรณีที่ไฟจากการไฟฟ้าเกิดมี ปัญหาขึ้นมา เช่นไฟตก ไฟเกิน ไฟดับ หรือไฟกระชาก เป็นต้น โดยที่ UPS จะจ่ายพลังงานออกมาอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพในทุกสถานการณ์ ตลอดจน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อ) รวมถึงมีหน้าที่ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือคอมพิวเตอร์ เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า

2.10 ลำโพง



                                        
ลำโพง ( loudspeaker, speaker) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง มีด้วยกันหลายแบบ คำว่า ลำโพงมักจะเรียกรวมกัน ทั้งดอกลำโพง หรือตัวขับ (driver) และลำโพงทั้งตู้ (speaker system) ที่ประกอบด้วยลำโพงและวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก)
ลำโพงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบเครื่องเสียง โดยมีขนาดตั้งแต่เล็กเท่าปลายนิ้ว จนถึงใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางนับสิบนิ้ว โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน


แบบทดสอบหน่วยที่ 1


1. ข้อใดไม่จัดเป็นองค์ประกอบในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ?
      ก. Hardware                    ข. Software
      ค. People ware                ง. User ware

2. ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น กีปะเภท ?
                ก. 2 ประเภท               ข. 3 ประเภท
                ค. 4 ประเภท                 ง. 9 ประเภท

3. ข้อใดไม่ใช่ซอฟต์แวร์จัดระบบ ?
                ก. MS Windows ข. MS Excel
                ค. Power DVD   ง. Turbo C

4. ข้อใดเป็นซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ในสำนักงานทั่วไป ?
                ก. MS Office       ข. Corel Draw
                 ค. Power DVD  ง. Turbo C

5. บุคลากรทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบงาน เรียกว่า ?
                ก. Progammer                        ข. Analyzer
                ค. System Analyst                  ง. Debugger

6. ลักษณะของเมาส์แบบสกอร์คือ ?
         ก. ไม่มีลูกกลิ้ง                         ข. ไม่มีสาย
      ค. มีช่องต่อพิเศษ 2 แบบ          ง. มีล้อหมุนตรงกลาง

7. ถ้าต้องการถนอมสายตา ควรเลือกจอภาพชนิดใด ?
                ก. LED              ข. LCD
                ค. CRT               ง. Monitor

8. ถ้าต้องการพิมพ์งานที่ต้องการสำเนาเอกสารต้องใช้เครื่องพิมพ์แบบใด ?
                ก. Dot Matrix      ข. Ink Jet Printer
                ค. Laser Jet Printer                ง. Plotter

9. เครื่องที่รวมเครื่องพิมพ์เข้ากับเครื่องสแกนภาพเรียกว่า ?
                ก. Print & Scan         ข. Print Server
                ค. All in one Printer             ง. General Printer

10. ข้อใดเป็นจุดเด่นของ โมเด็มติดตั้งภายนอก (External Modem) ?
                ก. ราคาถูกกว่า               ข. กินไฟน้อย
                ค. เคลื่อนย้ายสะดวกกว่า   ง. ถูกทุกข้อ
 11. Hardware หมายถึงอะไร ?
               ก. ระบบปฏิบัติการวินโดวส์      ข.เครื่องคอมพิวเตอร์
               ค. โปรแกรมต่างๆ                        ง.นักวิเคราะห์ระบบ
12. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในกลุ่ม Peopleware
              ก. System Analst                         ข. User
              ค. Debugger                                 ง. Operating System
13. UPS แบ่งการทำงานตามระบบของเครื่องได้กี่แบบ ?
              ก. 2 แบบ                                       ข. 3 แบบ
              ค. 4 แบบ                                      ง. 5 แบบ
14.  Multumedia Software มีลักษณะหน้าที่เป็นอย่างไร ?
             ก. เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างภาพ
             ข. เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยสร้างความบันเทิง
             ค. เป็นซิฟต์แวร์ในงานช่วยออกแบบ
             ง. เป็นซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์
15. ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์คืออะไร ? 
             ก. ให้ความละเอียดในการพิมพ์สูง
             ข. มีความเร็วในการพิมพ์สูง
             ค.เวลาทำงานไม่มีเสียงดัง
             ง. ถูกทุกข้อ